สำหรับใครที่กำลังทำธุรกิจออนไลน์แล้วมีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง คงเคยได้ยิน Google tag manager หรือระบบจัดการแท็กกันมาบ้างแล้ว ทว่าอาจจะยังไม่ได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่ามันคืออะไร สามารถเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจได้อย่างไร ซึ่งประโยชน์จริงๆ ของการใช้งาน Google tag manager นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำ Digital marketing หรือการทำโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ฯลฯ
สารบัญบทความ
Google tag manager คืออะไร
Google Tag Manager คือระบบบริหารจัดการแท็ก (TMS) ซึ่งเป็นโค้ดหรือสคริปต์ที่ถูกนำมาติดตั้งในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อติดตาม (Tracking) ผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลลัพธ์ของการทำการตลาด การทำโฆษณา พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และอื่นๆ เพื่อทำให้นักการตลาดสามารถติดตามผลลัพธ์เหล่านั้นได้ง่าย สะดวกต่อการจัดการ หรือนำไปสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดได้ ดังนั้น Google tag manager จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจออนไลน์
GTM คือเครื่องมือของ Google ที่สามารถใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดย Google tag manager จะช่วยให้เราสามารถใส่ Tags ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Ads, Google Analytics, Facebook Pixel, Java Script ฯลฯ ซึ่งหากคุณไม่ใช้ Google Tag Manager การติด tag ต่างๆ อาจไม่เป็นระเบียบและเข้าไปแก้ไขได้ยาก ทว่าเมื่อใช้ GTM เข้าไปจัดการ จะช่วยทำให้ tag ดูเป็นระเบียบมากขึ้น สามารถเข้าไปแก้ไขจัดการง่ายขึ้นผ่าน interface ที่ใช้งานได้ง่าย
ทำไม Google tag manager ถึงนิยมใช้กับธุรกิจออนไลน์
การใช้งาน Google Tag Manager นับเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้การทำธุรกิจออนไลน์ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธุรกิจของคุณทำโฆษณาออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google, LINE, Facebook หรือ TikTok
การติดตั้ง Tags ต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากการติดตั้ง Code ในเว็บไซต์ของคุณเอง จะช่วยเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้งานบนเว็บไซต์ และส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับมายังแพลตฟอร์มโฆษณา เพื่อทำการ Optimize ส่งผลให้ประสิทธิภาพโฆษณาดียิ่งขึ้น ช่วยยิงโฆษณาของคุณไปหากลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นลูกค้าในอนาคตได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ส่วนประกอบการทำงานของ Google tag manager มีอะไรบ้าง
การทำงานของ Google tag manager จะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Tags
Tags คือ Tracking Code ต่างๆ ที่บรรดาแพลตฟอร์มทั้งหลายต่างต้องการให้เราติดไว้ที่เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น Google Ads, Google Analytics, Facebook Pixel, Java Script ฯลฯ โดยในระบบ Google tag manager จะมี Template ไว้ให้เลือกว่าจะสร้าง Tag ของแพลตฟอร์มไหน ซึ่งคุณเพียงเข้าไปกรอกข้อมูลต่างๆ เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขที่ระบบหลังบ้านหรือ Source Code ของเว็บไซต์แต่อย่างใด
Trigger
สิ่งที่จะต้องคู่กับ Tag เสมอก็คือ Trigger หรือตัวกำหนด Condition ให้กับ Tag แต่ละอัน ว่าต้องการให้มันทำงานที่ไหนเมื่อไหร่ เช่น เมื่อมีคน Click ปุ่ม Call to Action ภายในเว็บไซต์ หรือกำหนดไว้เป็น All Pages ซึ่งก็คือให้ Tag ที่คุณติดไว้ เก็บข้อมูลในทุกๆ หน้าเว็บไซต์เมื่อมีคนเข้าชม เป็นต้น โดยคุณสามารถกำหนด Trigger ต่างๆ ได้เองตามเป้าหมายของการใช้ข้อมูลในอนาคต
Variables
Variables คือตัวแปรต่างๆ ที่นำมาใช้เป็น Condition ให้กับ Trigger เพื่อกำหนดคำสั่งให้ Trigger ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณติดตั้ง Tag เสร็จสิ้นแล้วมีผู้ชมเข้ามาที่เว็บไซต์ Trigger จะเป็นตัวกำหนดให้ Tag นั้นทำงานที่หน้าไหน ทว่า Tag ก็จะยังไม่ได้ทำงานเนื่องจาก Trigger เป็นเพียงตัวกำหนดเท่านั้นว่าให้ไปทำงานที่หน้านี้ แต่ Tag จะทำงานจริงๆ ขึ้นอยู่กับการกำหนด Variable โดย Variables จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ก็คือ Built-in และ User-Defined Variables
Google tag manager มีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ของ Google tag manager นั้นมีมากมาย ประกอบไปด้วย
มีความยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้เงื่อนไขต่างๆ ได้ตามความต้องการ
Google tag manager มีความยืดหยุ่นในการทำงานของแต่ละ Tag โดยเราสามารถ set up เงื่อนไขต่างๆ ได้ว่าจะให้ Tag นั้นทำงานเฉพาะหน้าไหน โดยไม่จำเป็นต้องทำงานทุกหน้า
มีระบบ Version ป้องกันความเสียหาย
เมื่อมีการเพิ่มหรือแก้ไขแท็ก Google tag manager จะสร้าง version ใหม่ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการมี Version Control นี้เองจะช่วยให้เราสามารถ Rollback ย้อนกลับไปหา version ก่อนหน้าได้เมื่อ version ปัจจุบันเกิดปัญหา
ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโค้ด
ภายใน Google Tag Manager จะมี Built-in Tag หรือลิสต์ของแท็กที่มักจะต้องติดบ่อยๆ อยู่มากมาย ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนที่ไม่มีประสบการณ์ด้าน Coding สามารถใช้ Built-in Tag เพื่อลดปัญหา Error ต่างๆ ที่อาจเกิดจากการ set up ไม่ถูกต้องลงไปได้
สามารถจัดการ Tags ได้อย่างง่ายดาย
GTM สามารถจัดการ Tag ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่ง Developer สามารถเพิ่ม New Tag ใหม่ Edit Tag เดิม หรือจัดการการทำงานของ Tags ทั้งหมดในเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายภายในแพลตฟอร์มเดียว โดยไม่ต้องสลับใช้เครื่องมือหลายตัวให้ยุ่งยากวุ่นวาย
ทำให้เปิดเว็บไซต์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เนื่องจาก Google tag manager ใช้ Code เพียงชุดเดียว จึงทำให้ไม่หนักเว็บ ทำให้เปิดเว็บไซต์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สามารถ Preview ก่อนใช้งานจริงได้
ก่อนกด Submit เพื่อให้ Tags ต่างๆ ทำงาน เราสามารถเปิด Preview Mode เพื่อทดสอบการใช้งานว่า Tags ที่เพิ่งสร้าง สามารถทำงานได้จริงหรือไม่
Google tag manager ทำงานอย่างไร
การทำงานของ Google Tag Manager เมื่อคุณติดตั้ง GTM เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถ Add Tag ต่างๆ เข้ามายังเว็บไซต์ได้ง่ายๆ ผ่าน Container Tag เพื่อเก็บโค้ดของแต่ละเว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องวางโค้ดต่างๆ มากมาย เพียงติด Container แค่ครั้งเดียว ก็สามารถนำ Tags ต่างๆ ที่เหมือนกันก่อนหน้ามาใช้งานได้ โดยไม่ต้องเข้าไปใส่ Tags ต่างๆ เองในแต่ละหน้าของเว็บไซต์
นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ Google tag manager ทำงานร่วมกับเครื่องมือเหล่านี้ Firebase SDK, Android หรือ iOS เพื่อติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นบนแอปมือถือ ซึ่งแทนที่จะต้องเขียน coding tags ด้วยตนเอง คุณสามารถใช้ GTM เพื่ออัปเดตแท็กโดยอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งสามารถติดแท็กให้กับเว็บไซต์มากกว่าหนึ่งเว็บไซต์พร้อมกันได้ โดยไม่ต้องจำกัดจำนวนแท็กที่ต้องจัดการในคราวเดียว จึงสะดวกสบายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องจัดการเว็บไซต์มากกว่าหนึ่งเว็บไซต์
เมื่อคุณติดตั้ง Google Tag Manager แล้ว เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณจะสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ของ GTM จากนั้นคุณจะใช้ interface เพื่อตั้งค่าแท็กติดตาม สร้าง trigger ที่ทำให้แท็กเริ่มทำงานเมื่อเกิดบางเหตุการณ์ขึ้น เช่น เมื่อหน้าเว็บโหลดขึ้น ผู้ใช้แตะหน้าจอ เลือกตัวเลือก หรือคลิกแบบฟอร์มใดก็ตามที่อยู่บนเว็บไซต์ของคุณ ฯลฯ รวมถึงสร้าง Variables ที่จะใช้เพื่อลดความซับซ้อนและทำให้สามารถกำหนดค่าแท็กแบบอัตโนมัติได้ หลังจากนั้น Google tag manager ก็จะเริ่มทำงาน รวบรวมข้อมูล และส่งกลับไปยัง Google Analytics
เครื่องมือที่คนนิยมนำมาใช้คู่กับ Google tag manager
เครื่องมือที่คนนิยมนำมาใช้คู่กับ Google tag manager ได้แก่
Google analytics
เครื่องมือทั้งสองนี้จะยิ่งมีประโยชน์อย่างมากเมื่อใช้งานร่วมกัน ช่วยทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น โดยคุณสามารถส่งข้อมูลจาก Google Tag Manager ไปยัง Google Analytics เพื่อดูแนวโน้ม วิเคราะห์ และรวบรวม Data analytics ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ในที่เดียว
สามารถตั้งค่าได้อย่างง่ายดายโดยใช้ Trigger และ Tag จาก Google Analytics เพื่อดูว่าผู้ใช้งานเว็บไซต์ดาวน์โหลดลิงก์ใด หรือสิ่งอื่นๆ ที่คุณต้องการรวบรวมข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Trigger เพื่อเลือกเวลาที่จะส่งข้อมูลไปยัง Google Analytics เพื่อให้ดำเนินการได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย
Google Ads
สามารถใช้ Google tag manager ร่วมกับ Google ads ในการติดแท็กเว็บไซต์สำหรับการรีมาร์เก็ตติ้ง (Remarketing) เพื่อแสดงโฆษณาต่อผู้ที่เคยเข้าชมเว็บไซต์หรือเคยใช้แอปพลิเคชันของคุณมาก่อน ทำให้ผู้เข้าชมได้เห็นโฆษณาที่มีผลิตภัณฑ์เฉพาะเจาะจงที่เคยดูในเว็บไซต์ของคุณ
โดยสามารถใช้แท็ก Remarketing ของ Google Ads ในทุกหน้าของเว็บไซต์ และส่งต่อค่าต่างๆ สำหรับแต่ละเหตุการณ์ Remarketing ไปยังแท็ก Remarketing ในขั้นตอนสำคัญของเว็บไซต์ เช่น รหัสสินค้าที่ผู้ใช้ Add to Cart รหัสโปรโมชั่นข้อเสนอพิเศษที่ผู้ใช้คลิก หรือต้นทางและปลายทางของเที่ยวบินที่ผู้ใช้งานค้นหา ฯลฯ
วิธีการติดตั้ง Google tag manager
วิธีการติดตั้ง Google tag manager สามารถทำได้โดย
สร้างบัญชีของ Google tag manager
ขั้นตอนแรก เปิดเว็บไซต์ Google Tag Manager แล้วล็อกอินเข้าระบบ ซึ่งถ้าหากคุณมีบัญชีของ Google Workspace หรือ G-Suite อยู่แล้วก็สามารถสร้างบัญชีด้วยการเชื่อมต่อกับอีเมลได้เลย หลังจากล็อกอินเข้าใช้งานแล้ว หน้าแรกที่จะเจอ คือหน้า Dashboard ของ google gtm ให้คลิกที่ “Create Account” เพื่อเข้าไปกรอกรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน
-
- ชื่อ Account หรือโปรเจ็กต์ที่จะทำ
-
- เลือกประเทศว่ามีการใช้งานเว็บไซต์ที่ไหน
-
- ใส่ URL เว็บไซต์ของเรา (แบบไม่ต้องมี https://)
-
- เลือกประเภทของ Container (เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่จะนำ Tag มาใส่)
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงกด “Create” เพื่อสร้างบัญชี จากนั้นให้คุณอ่าน Terms of Service Agreement หรือข้อตกลงการใช้งานและนโยบาย ซึ่งเมื่อคุณกดยอมรับแล้วระบบจะแสดงโค้ดติดตั้งให้คุณ เพื่อนำไปติดตั้ง Tag Manager ให้กับเว็บไซต์ในขั้นตอนต่อไป
ทำการติดตั้ง Google tag manager ในเว็บไซต์
การติดตั้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลักๆ คือ
-
- การนำโค้ดจาก google gtm ไปฝังไว้หลังบ้านที่เป็นหน้า Coding ซึ่งจำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่องโค้ดหรือการทำงานของโค้ดในระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ ซึ่งอาจต้องพึ่งพาขอความช่วยเหลือจาก Developer ในการติดตั้งโค้ดเหล่านี้ โดยโค้ดชุดแรกจะฝังอยู่ที่ <head> และโค้ดอีกชุดให้ฝังไว้หลัง <body> ของเว็บไซต์
-
- ติดตั้ง Google tag manager ผ่าน Plug-in ของระบบจัดการเว็บไซต์หรือ Content Management System (CMS) ซึ่งเหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีระบบการทำงานหลังบ้าน ยกตัวอย่างเช่น WordPress โดยขั้นตอนแรกให้คุณดาวน์โหลดและติดตั้ง Plug-in “Google Tag Manager for WordPress” และ Activate ตัว Plug-in หลังจากนั้นให้ Copy ตัว GTM ID มาจากหน้า Tag Manager ของคุณ แล้วนำไปใส่ในช่องว่างของ Plug-in โดยกดที่ Setting > Plug-in > Google Tag Manager for WordPress แล้วกด “Save Changes” เพียงเท่านี้การติดตั้ง GTM เว็บไซต์ของคุณก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว
สรุป
ระบบบริหารจัดการแท็ก Google tag manager ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณสามารถติดตามผลลัพธ์ของการทำการตลาดที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันธุรกิจได้ โดยคุณสามารถรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาด และเข้าถึงลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับท่านใดที่อยากใช้ Google tag managerเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจ แต่ยังลังเล ไม่แน่ใจว่าหากลงมือใช้ GTM เองแล้ว จะทำได้ถูกต้องหรือไม่ เราขอแนะนำ Markety ที่มีบริการพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับทำ Google tag manager เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณ นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น รับทำ Landing Page รับทำ Sale Page สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อได้ที่เว็บไซต์ Markety
ที่ตั้ง : 976/4 ถนนริมคลองสามเสน แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
เบอร์โทรศัพท์ : ฝ่ายบริการลูกค้า 02-002-9322 ฝ่ายขาย 084-509-5545 หรือ 061-924-7449
อีเมล : [email protected]
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Google tag manager
Google tag manager ต่างกับ Google analytics อย่างไร
Google tag manager มีหน้าที่ในการเป็น Dashboard เพื่อบริหารจัดการ Tag ต่างๆ บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ส่วน Google Analytics จะมีหน้าที่เป็น Dashboard ที่แสดงผลลัพธ์ของเมทริกซ์ต่างๆ ที่สำคัญของการทำการตลาด ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ Tag แต่อย่างใด ทั้งนี้ แม้เครื่องมือทั้งสองจะมีหน้าที่แตกต่างกัน แต่เราสามารถใช้ Google Tag Manager และ Google Analytics ร่วมกันได้
สามารถใช้ Google tag manager กับ WordPress ได้หรือไม่
คำตอบคือได้ โดยมี Plug-in ของ WordPress หลายตัว ที่คุณสามารถนำไปใช้กับGoogle tag manager ได้
Google tag manager สามารถติดตามผลการส่ง Lead ได้หรือไม่
คำตอบคือ Google Tag Manager สามารถติดตามผลการส่ง Lead ได้ โดยสามารถตั้งค่าได้ที่ Form submission trigger
อ้างอิง
Google for Developers, (2022 December 05). About Google Tag Manager.
https://developers.google.com/tag-platform/tag-manager
Zach Paruch, (2023, Feb 21). What is Google Tag Manager & How Does It Work?.
https://www.semrush.com/blog/beginners-guide-to-google-tag-manager/
Kayle Larkin, (2022, December 7). Google Tag Manager: A GA4 Beginners Guide.
https://www.searchenginejournal.com/google-tag-manager-ga4-guide/