Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

Core Web Vitals คืออะไร? ปัจจัยสำคัญในการทำ SEO

Core Web Vitals คือ

การพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพต้องอาศัยหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งผลิตคอนเทนต์ที่น่าสนใจ จัดหมวดหมู่เนื้อหาให้ง่ายต่อการค้นหา ออกแบบเว็บไซต์ให้ดูดี ไปจนถึงการติดตั้ง Plug in ที่ช่วยในเรื่องของ SEO แต่หลายคนอาจมองข้ามปัจจัยที่สำคัญอย่าง “Core Web Vitals” เกณฑ์ชี้วัดสุขภาพของเว็บไซต์ ที่จะรายงานผลว่าเว็บไซต์ของเรา “เป็นมิตร” กับผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน ความเร็วในการดาวน์โหลดแต่ละหน้าเป็นอย่างไร และมีจุดไหนของเว็บไซต์ที่เราต้องปรับปรุง 


ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาดูกันว่า Core Web Vitals คืออะไร มีองค์ประกอบหลักอะไรบ้าง Core Web Vitals สำหรับ SEO จำเป็นแค่ไหน มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

สารบัญบทความ

Core Web Vitals คืออะไร?

Core Web Vitals 2024

Core Web Vitals คือ ปัจจัยที่ Google ระบุว่าเว็บไซต์เป็นมิตร หรือส่งผลผลดีต่อประสบการณ์ (UX) ของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากเวลาในการดาวน์โหลด ความเสถียรของภาพ และการโต้ตอบบนเว็บไซต์ โดยการวิเคราะห์ค่าเหล่านี้ เจ้าของเว็บไซต์จะสามารถระบุได้ในทันทีว่าส่วนใดของเว็บไซต์ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน รวมไปถึงการพัฒนา Core Web Vitals ยังส่งผลดีต่อ SEO และอันดับการค้นหาใน Google อีกด้วย


อ่านสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEO ได้ที่บทความ : SEO คืออะไร ทำอย่างไรให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google

 3 องค์ประกอบสำคัญของ Core Web Vitals คืออะไร?

อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า Core Web Vitals คือตัววัดสุขภาพของเว็บไซต์ โดย Google จะให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

Largest Contentful Paint (LCP) 

Core Web Vitals Factor อันแรกคือ Largest Contentful Paint (LCP) การวัดระยะเวลาที่ใช้ในการโหลดเนื้อหาที่ใหญ่ที่สุดบนหน้านั้น เช่น รูป หรือบล็อกข้อความต่าง ๆ 

ข้อแนะนำการพัฒนา LCP

LCP ที่ดีควรน้อยกว่า 2.5 วินาที หมายความว่ารูปภาพหลัก วิดีโอ หรือบล็อกข้อความขนาดใหญ่ควรจะดาวน์โหลดได้ในทันทีเมื่อมีผู้ใช้เข้ามาที่หน้านั้น ๆ แนะนำตรวจสอบว่าควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าคุณมีการอัปเดตเวอร์ชันล่าสุดของ WordPress อยู่เสมอ ในส่วนนี้ก็จะช่วยปรับปรุงระยะเวลาดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ให้เร็วยิ่งขึ้น หรือจะใช้วิธีบีบอัดรูปภาพก่อนอัปโหลดโดยใช้โปรแกรมบีบอัดรูปภาพหรือปลั๊กอินก็ได้เช่นเดียวกัน 

Interaction to Next Paint (INP)

Interaction to Next Paint (INP) เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ Google เพิ่งนำมาพิจารณาแทนเกณฑ์เดิมอย่าง First Input Delay (FID) จากการอัปเดต Core Web Vitals 2024 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง สำหรับ INP เป็นการวัดระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่เมื่อผู้ใช้เริ่มต้นการโต้ตอบใด ๆ เช่น การคลิก การสกอร์เมาส์ขึ้น-ลง ไปจนถึงการกดปุ่มบนหน้าเว็บไซต์แล้วดูว่าเว็บสามารถตอบสนองได้เร็วหรือไม่ 

ข้อแนะนำการพัฒนา INP

เป้าหมายของ INP คือ ให้ค่าต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ INP ที่ดีคือ 200 มิลลิวินาทีหรือน้อยกว่านั้น ข้อแนะนำการพัฒนา INP อาจเริ่มจากการลดขนาดของไฟล์ JavaScript, CSS และโค้ดปรับแต่งโครงสร้างเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุด

Cumulative Layout Shift (CLS)

Cumulative Layout Shift (CLS) วัดความเสถียรของเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ ตรวจสอบความลื่นไหลของการการเปลี่ยนแปลง Layout ที่เคลื่อนไปมา เช่น หลังจากโหลดหน้าเว็บไซต์แล้วรูปภาพ แบนเนอร์ หรือบล็อกเนื้อหามีการขยับหรือแสดงผลผิดที่ผิดทางหรือไม่ เป็นต้น

ข้อแนะนำการพัฒนา CLS

คะแนน Core Web Vitals ของ CLS ที่ดีคือ 0.1 หรือน้อยกว่านั้น ข้อแนะนำในการพัฒนา CLS คือกำหนดขนาดขององค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ เช่น รูปภาพ วิดีโอ และปุ่ม ให้ชัดเจน หรือใช้ CSS flexbox หรือ Grid Layout ในการจัดวางองค์ประกอบเพื่อช่วยให้การแสดงผลยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

แนะนำเครื่องมือฟรีสำหรับตรวจสอบ Core Web Vitals

Core Web Vitals คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณพัฒนาเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือฟรีให้ใช้มากมาย แต่ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมเพราะใช้ได้ฟรีนั้นมี 2 เครื่องมือแนะนำ ดังนี้

Google Search Console

Google Search Console นอกจากจะเป็นเครื่องมือฟรีจาก Google ที่ใช้สำหรับติดตามและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ SEO บนเว็บไซต์แล้ว เรายังสามารถใช้ Google Search Console สำหรับดูผลรายงานที่แถบเมนู Core Web Vitals ที่จะแสดงคะแนน LCP, INP และ CLS ของเว็บไซต์ได้อีกด้วย โดยฟีเจอร์ดังกล่าวจะบอกปัญหาที่พบ พร้อมแนะนำวิธีการแก้ไขให้คุณแบบเสร็จสรรพ

PageSpeed Insight

เครื่องมือเช็ก Core Web Vitals ยอดฮิตอีกหนึ่งอันคือ PageSpeed Insight พัฒนาโดย Google อีกเช่นกัน มีหน้าที่วิเคราะห์ประสิทธิภาพ เช็กความเร็วของเว็บไซต์ โดยใส่เพียงชื่อโดเมนจากนั้นเครื่องมือจะแสดงคะแนน LCP, INP และ CLS ของเว็บไซต์ แยกตาม Mobile และ Desktop พร้อมระบุปัญหาและแนวทางแก้ไข 

ทำไมต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้มี Core Web Vitals ที่ดี

Core Web Vitals Factor

การพัฒนา Core Web Vitals เปรียบเสมือนการปรับปรุงส่วนต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองของเว็บไซต์กับผู้ใช้งานเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดี เช่น ทำให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดได้เร็วขึ้น ตอบสนองต่อการคลิกของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว เนื้อหาบนหน้าเว็บแสดงผลได้อย่างเสถียร ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานอยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้น และเพิ่มโอกาสในการสร้าง Conversion Rate ในท้ายที่สุด

นอกจากนี้ Core Web Vitals คือปัจจัยที่ Search engine อย่าง Google ให้ความสำคัญในการจัดอันดับ SEO เว็บไซต์ที่มี Core Web Vitals ดี จะมีอันดับการค้นหาที่ดีขึ้น


อ่านสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Search Engine ได้ที่บทความ : Search Engine คืออะไร ประโยชน์ที่ได้จากมันมีอะไรบ้าง

สรุปเกี่ยวกับความสำคัญของ Core Web Vitals

ถ้าต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับ SEO นอกเหนือการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพแล้ว Core Web Vitals คืออีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งานเว็บไซต์ และหมั่นตรวจสอบแก้ไข Core Web Vitals อยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม Core Web Vitals จะดีได้ต้องเริ่มจากโครงสร้างเว็บไซต์ที่แข็งแรง ใครที่กำลังมองเว็บไซต์ดี ๆ ไว้ทำธุรกิจ หรืออยากมีเว็บไซต์ที่รองรับการทำ SEO ให้ Markety ดูแลคุณ เพราะเราคือบริการทำการตลาดรับสร้างเว็บไซต์ WordPress สร้าง Landing Page และ Sale Page จากทีมงานมืออาชีพ ติดต่อ Email : [email protected] หรือเบอร์โทรติดต่อ 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย), 061-924-7449 (ฝ่ายขาย)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้งาน Core Web Vitals

1. ปัจจัยรองที่ทำให้ค่า Core Web Vitals มีปัญหา

ปัจจัยที่สำคัญรองลงมาจาก Core Web Vitals คือองค์ประกอบเสริมต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของเว็บไซต์ ดังนี้

  • First Contentful Paint (FCP) วัดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มโหลดหน้าเว็บไปจนถึงการแสดงเนื้อหาแรก
  • Time to First Byte (TTFB) เวลาที่ใช้ในการรอรับข้อมูลจาก Server เมื่อมีการร้องขอข้อมูลจาก Browser ครั้งแรก
  • Time to Interactive (TTI) วัดเวลาตั้งแต่เริ่มโหลดหน้าเว็บตั้งแต่ข้อความ รูปภาพ วิดีโอครบทั้งหน้าจนพร้อมตอบสนองผู้ใช้
  • Total Blocking Time (TBT) วัดเวลาที่ผู้ใช้ต้องรอโหลด FCP และ TTI ทำงาน ซึ่ง TBT ควรน้อยกว่า 300 มิลลิวินาที

2. Core Web Vitals ส่งผลต่อการทำ SEO มากแค่ไหน?

เนื่องจาก Core Web Vitals คืออีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลดีต่อการทำ SEO ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะ Google จะจดจำว่าเราเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ผู้ใช้คลิกเข้าเว็บไซต์แล้วหน้าเว็บไม่ค้าง รอโหลดไม่นาน จะช่วยส่งผลให้ผู้ใช้งานอยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้น เพิ่มโอกาสการกดติดต่อหรือกดสั่งซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้นนั่นเอง

อ้างอิง 

Karla Margeson. (2024, Mar 19). Core Web Vitals: What They Are & How to Improve Them.

https://www.semrush.com/blog/core-web-vitals

Brian Dean. (2023, Nov 20). Core Web Vitals.

https://backlinko.com/hub/seo/core-web-vitals

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update