Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

โครงสร้างเว็บไซต์คืออะไร รูปแบบใดจึงจะเหมาะกับธุรกิจ แล้วส่งผลดีต่อ SEO อย่างไร

โครงสร้างเว็บไซต์

โครงสร้างเว็บไซต์เปรียบเสมือนเส้นทางที่ทำให้ลูกค้าได้ทำความรู้จักธุรกิจ ซึ่งลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความประทับใจและความเชื่อมั่นจากเว็บไซต์ที่เห็น นอกจากนี้การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดียังช่วยให้การทำ SEO มีผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ และทำให้เว็บไซต์ธุรกิจติดอันดับที่ดีอีกด้วย เพราะฉะนั้น โครงสร้างเว็บไซต์จึงนับว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แล้วโครงสร้างเว็บไซต์ คืออะไร มีกี่รูปแบบ ควรเลือกใช้โครงสร้างเว็บไซต์แบบไหนดี บทความนี้ จะพาไปทุกคนทำความรู้จักกับโครงสร้างเว็บไซต์กัน

สารบัญบทความ

โครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) คืออะไร

โครงสร้างเว็บไซต์คือ

Site Structure หรือ โครงสร้างเว็บไซต์ คือ วิธีการจัดระเบียบเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์ให้กลายเป็น Site Map ที่ดี เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บไซต์ได้อย่างงายดายและมีประสิทธิภาพ โดยโครงสร้างเว็บไซต์มีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของผู้เข้าชมจากองค์ประกอบไปสำคัญหลากหลายส่วน ดังนี้

  • หน้าแรก (Homepage) เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานจะเข้ามาพบ
  • เมนู (Menu) เป็นตัวนำทางช่วยผู้ใช้งานไปยังหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์
  • หน้าสินค้าหรือบริการ (Product/Service Pages) สำหรับเว็บไซต์ขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
  • หน้าบทความ (Blog Pages) ใช้เพื่อแบ่งปันข้อมูล ความรู้ หรือข่าวสารล่าสุด
  • หน้าติดต่อ (Contact Page) จะมีข้อมูลติดต่อ เช่น ที่อยู่ อีเมล เป็นต้น
  • แผนที่เว็บไซต์ (Site Map) ช่วยแสดงภาพรวมของโครงสร้างเว็บไซต์ทั้งหมด
  • ระบบนำทาง (Navigation) ช่วยผู้ใช้งานไปยังหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ตามต้องการ


การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์อย่างเหมาะสม จะช่วยพัฒนา User Experience สำหรับผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการได้ง่าย มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การเขียนโครงสร้างเว็บไซต์อย่างเป็นระบบจะในเรื่องของ SEO (Search Engine Optimization) ได้อีกด้วย ทำให้เว็บไซต์มีโอกาสติดอันดับใน Search Engine ที่ดีมากยิ่งขึ้น การค้นหาได้สูงขึ้นอีกด้วย

เว็บไซต์มีกี่ประเภท

เว็บไซต์ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ครรทำความเข้าใจประเภทของเว็บไซต์จาก 2 รูปแบบ ดังนี้

Static Website

เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคงที่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงบ่อย หรือไม่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากนัก ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ประเภทแบบนี้ นิยมจัดเก็บไว้ในไฟล์ HTML แล้วเมื่อต้องการอัปเดต เจ้าของเว็บไซต์สามารถแก้ไขโค้ดต้นฉบับและอัปโหลดไฟล์ใหม่ได้ง่าย 

Dynamic Website

เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่เหมาะสำหรับโครงสร้างเว็บไซต์ที่นิยมเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบนเว็บไซต์บ่อย ๆ หรือแสดงผลตามการกระทำของผู้ใช้งาน โดยเว็บไซต์ประเภทนี้จะใช้ฐานข้อมูลเพื่อเก็บและดึงข้อมูลแบบ Realtime ข้อดี คือ สามารถโต้ตอบได้อย่างทันที

โครงสร้างเว็บไซต์มีกี่รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไร

โครงสร้างเว็บไซต์ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมี 5 รูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แตกต่างกันไปดังนี้

1. โครงสร้างเว็บแบบเส้นตรง (Linear Structure)

โครงสร้างเว็บไซต์แบบเส้นตรง (Linear Structure) เป็นรูปแบบ โครงสร้างเว็บไซต์ที่มีการออกแบบให้ผู้ใช้งานเข้าชมตามลำดับที่กำหนด โดยเริ่มจากหน้าแรกแล้วทำการเลื่อนหน้าต่อไปตามลำดับ Step-by-Step 

2. โครงสร้างเว็บแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)

โครงสร้างเว็บไซต์แบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure) เป็นรูปแบบ โครงสร้างเว็บไซต์ที่มีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นลักษณะลำดับย่อย ๆ เริ่มต้นจากหน้าหลักแล้วตามลำดับไปยังหน้าย่อย ๆ โดยนิยมออกแบบให้ผู้ใช้งานเรียกดูหน้าหลักก่อน จากนั้นเลือกเข้าไปยังหน้าย่อย ๆ เป็นที่ Internal link ภายในตามที่ต้องการ เช่น หน้าแรก > สินค้า > หมวดหมู่สินค้า > สินค้าเฉพาะ เป็นต้น ทำให้ข้อมูลมีลำดับ จัดหมวดหมู่ ผู้ใช้จะได้รับข้อมูลตามลำดับที่มีความสัมพันธ์กัน เหมาะสำหรับการสั่งซื้อสินค้า การลงทะเบียน หรือธุรกิจที่มีต้องทำตามลำดับที่กำหนด

3. โครงสร้างเว็บแบบเชื่อมโยง (Web Linked Structure)

โครงสร้างเว็บไซต์แบบเชื่อมโยง (Web Linked Structure) เป็นรูปแบบ โครงสร้างเว็บไซต์ที่เน้นการเชื่อมโยงหรือลิงก์ข้อมูลกันโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องตามลำดับหรือลำดับขั้น ซึ่งทุกหน้าหรือข้อมูลบนเว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้จากทุกหน้าที่ผู้ใช้ต้องการ ด้วยเนื้อหาบนเว็บไซต์มีความเป็นอิสระต่อกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหน้าหรือข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยตรงอย่างอิสระ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ข่าว บล็อก หรือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลายประเภทให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ตามความสนใจ

4. โครงสร้างเว็บไซต์แบบฐานข้อมูล (Database site structure)

โครงสร้างเว็บไซต์แบบฐานข้อมูล (Database site structure) เป็นรูปแบบ โครงสร้างเว็บไซต์ที่ใช้ฐานข้อมูล เพื่อเก็บและจัดการข้อมูลของเว็บไซต์ ทำให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล ค้นหา และปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ โดยเว็บไซต์จะทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อมีคำขอจากผู้ใช้งาน ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนและอัปเดตข้อมูลได้เป็นปัจจุบัน 

ซึ่งการใช้รูปแบบ โครงสร้างเว็บไซต์นี้ มีความยืดหยุ่นมาก สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลได้ โดยไม่ต้องแก้ไขโค้ดหลักของเว็บไซต์ ง่ายต่อการทำคำขอข้อมูล ค้นหา และกรองข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากสามารถกำหนดสิทธิ์และการเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ นอกจากนี้ โครงสร้างเว็บไซต์แบบฐานข้อมูลช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลในมิติหลายระดับ เช่น จัดกลุ่มข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง เป็นต้น

5. โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม (Hybrid Structure)

โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม (Hybrid Structure) เป็นรูปแบบ โครงสร้างเว็บไซต์ที่ผสมผสานลักษณะของโครงสร้างเว็บไซต์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสบการณ์การใช้งานที่ครอบคลุมทั้งแบบเส้นตรง ลำดับขั้น เชื่อมโยง และฐานข้อมูล ภายในเว็บไซต์สามารถประยุกต์ใช้แต่ละรูปแบบให้เหมาะสมกับเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์

ตัวอย่างเช่น การใช้โครงสร้างเว็บไซต์แบบเส้นตรงหรือลำดับขั้นสำหรับบางส่วนของเว็บ และเพิ่มลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ หรือข้อมูลในส่วนอื่นของเว็บ พร้อมใช้ฐานข้อมูล เพื่อจัดการข้อมูลที่ต้องการบันทึกและนำเสนอ ทำให้โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสมมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน และที่สำคัญ คือ ตอบสนองต่อ SEO ได้ดี เพราะมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ ทำให้เว็บไซต์สามารถติดอันดับในผลการค้นหาได้ดี

ประโยชน์ของการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

เว็บไซต์ดูเป็นระเบียบ เข้าใจง่าย

โครงสร้างเว็บไซต์ที่เป็นระเบียบ ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจข้อมูลและบริการได้ง่ายขึ้น ช่วยสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดี ช่วยลดความสับสนในการใช้งาน เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถพบข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและไม่ต้องหลงทาง อีกทั้งความเป็นระเบียบนี้ ช่วยให้การนำทางบนเว็บไซต์เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สร้างความเพลิดเพลินให้กับ Customer Journey

การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดี มีผลต่อความพึงพอใจและความเพลิดเพลินของผู้ใช้งาน การทำให้ Customer Journey มีความน่าสนใจ สามารถสร้างความประทับใจที่ดี อีกทั้งยังสร้างช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับลูกค้า เพิ่มความผูกพันระหว่างธุรกิจกับลูกค้า ทำให้มีโอกาสเพิ่มการขาย สร้างชื่อเสียงที่ดีในวงกว้าง 

โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี ส่งผลต่อ SEO

โครงสร้างเว็บไซต์ให้รองรับ SEO (Search Engine Optimization) เนื่องจากทำให้โครงสร้างเว็บไซต์เป็นระเบียบ มีโค้ดและเนื้อหาคุณภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสในการปรากฏในผลการค้นหาที่ดีขึ้น เพราะใช้ URL ที่เป็นระเบียบ สื่อความหมายชัดเจนช่วยให้ Search Engine เข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์ อีกทั้งการใช้ Header Tags (เช่น H1, H2, H3) ช่วยอธิบายเนื้อหา สร้างลำดับความสำคัญที่ช่วยใน SEO และใช้คีย์เวิร์ดสำคัญใน URL, Title Tags, Meta Description และเนื้อหาอีกด้วย

วิธีการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้ใช้งาน

วิธีการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • สำรวจเว็บไซต์คู่แข่ง เพื่อทราบถึงข้อดีและเรียนรู้จากข้อบกพร่อง โดยใช้เทคโนโลยีช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์คู่แข่ง เช่น Google Analytics ที่จะช่วยในการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้
  • สำรวจพฤติกรรมเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดและข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้ เพื่อเข้าใจความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
  • จัดหมวดหมู่หน้าสินค้า และบริการภายในเว็บไซต์ ให้มีความเป็นระเบียบ มีลำดับหลักหรือหมวดหมู่ที่ชัดเจน ควรให้ความสำคัญในการแยกแยะบริการหรือสินค้าให้ชัดเจน
  • เชื่อมโยงหน้าเพจด้วย Internal Link ช่วยสร้างทางเลือกในการนำทาง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่ายขึ้น
  • มี Navigation เข้าใจง่ายและมีลำดับที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำทางในเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ออกแบบ URL ให้เข้าใจง่าย สื่อความหมายชัดเจน สัมพันธ์กับเนื้อหา ทำให้เข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์

สรุปเกี่ยวกับโครงสร้างเว็บไซต์

โครงสร้างเว็บไซต์ คือ วิธีการจัดระเบียบเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บไซต์ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีรูปแบบ โครงสร้างเว็บไซต์หลากหลายให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ด้วยโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีจะช่วยเพิ่มยอดขาย เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สะดวกกับการทำ SEO ทั้งนี้ ควรติดต่อบริษัทที่มีเชี่ยวชาญอย่าง Markety ให้ช่วยดูแล 

Markety เป็นบริษัทรับทำ Landing Pageรับทำ Sale Page และรับทำเว็บไซต์ ครบวงจร ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำมาอย่างยาวนานให้ช่วยดูแลโครงสร้างเว็บไซต์ปรับโครงสร้างเว็บไซต์ หรือเขียนแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้งานอย่างมืออาชีพ หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้เพิ่มเติมที่เบอร์โทร 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย) และ 061-924-7449 (ฝ่ายขาย) หรือ E-mail: [email protected]

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโครงสร้างเว็บไซต์ 

โครงสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจ จัดระเบียบให้ดี เพราะถือว่าเป็นความประทับใจแรกของผู้ใช้งาน ทำให้หลายคนยังคงกังวล มีข้อสงสัยต่าง ๆ เช่น

1. โครงสร้างเว็บไซต์แบบไหนที่ Google ชอบ

ควรเลือกโครงสร้างเว็บไซต์แบบไหนดี จึงจะเหมาะสำหรับ Google โดย Google จะพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย เพื่อการจัดอันดับในผลการค้นหา (SERP) และส่งผลต่อการ SEO ของเว็บไซต์ ได้แก่

  • เนื้อหาที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน
  • ใช้ลิงก์ภายในเว็บไซต์ เพื่อสร้างโครงสร้างเว็บไซต์ที่เข้าใจง่ายและช่วยในการนำทาง
  • ได้รับลิงก์จากเว็บไซต์อื่นที่มีความน่าเชื่อถือสูง มีผลต่อความสำคัญของเว็บไซต์
  • คำนึงถึงประสิทธิภาพในการโหลดของเว็บไซต์ เนื่องจากเว็บไซต์ที่โหลดได้เร็วมีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดอันดับ
  • การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ให้เข้ากับทุกขนาดของหน้าจอ (Responsive Design) 
  • เว็บไซต์ให้บริการผ่าน *HTTPS มีผลในการทำ SEO ด้วยความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
  • ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำ SEO โดยการใช้ meta tags, meta descriptions, และ alt attributes สำหรับรูปภาพ

ดังนั้น หากมีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี ไม่เพียงแต่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้งานแล้ว แต่ยังส่งผลดีต่อ Google Bot ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับในการค้นหามากขึ้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงเว็บไซต์มากขึ้น เพิ่มโอกาสการเข้าถึง ขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น

*สำหรับใครที่สนใจอ่านเรื่องการส้รางความปลอดภัยให้กับเครือข่ายเว็บไซต์และคอมพิวเตอร์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : บทความ HTTP คืออะไร แตกต่างจาก HTTPS อย่างไร เลือกใช้แบบไหนดี?

2. โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี ช่วยเพิ่มโอกาสปิดการขายได้จริงไหม

โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้จริง เพราะสามารถใช้งานสะดวก สร้างความประทับใจ อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า นำเสนอสินค้าหรือบริการชัดเจน ครบถ้วน ทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีระบบการเชื่อมโยงภายใน ช่วยให้ลูกค้าง่ายต่อการค้นหาสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม 

โครงสร้างเว็บไซต์ยังจัดเรียงลำดับสินค้าหรือบริการให้เหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะมีระบบตะกร้าสินค้า ช่วยให้ชำระเงินได้อย่างสะดวก รวดเร็ว พร้อมทั้งระบบบริการลูกค้า ตอบสนองต่อคำถาม ช่วยเหลือลูกค้าด้วยความรวดเร็ว จึงช่วยสร้างความพึงพอใจและปิดการขายได้ เหตุผลดังกล่าว จึงส่งผลให้การทำ SEO ได้อย่างเหมาะสม

อ้างอิง 

Marieke van de Rakt. (2022, December 14). What is site structure and why is it important?. https://yoast.com/site-structure/#:~:text=Site%20structure%20refers%20to%20how,and%20posts%20on%20your%20website.

Kelly Lyons. (2023, Mar 06). How to Build Your Website Architecture for SEO. https://www.semrush.com/blog/website-structure/

UXPin. (2023, November 2). Website Structure 101 with Examples. https://www.uxpin.com/studio/blog/web-structures-explained/

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update