Markety

Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

Hosting คืออะไร ควรเลือกแบบไหน รู้ไว้ก่อนเช่าบริการโฮสติ้ง

Hosting คือ

ในปัจจุบันการทำธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ใครหลาย ๆ คนต่างต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างรวดเร็ว พร้อมมอบประสบการณ์และความพึงพอใจสูงสุดเพื่อรักษาฐานลูกค้า โดยเฉพาะธุรกิจบนหน้าเว็บไซต์ ที่ไม่ใช่เพียงแค่หน้าตาบนหน้าเว็บเพียงเท่านั้น แต่ความเสถียรและความรวดเร็วก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงก็คือ Hosting นั่นเอง

Web Hosting คืออีกหนึ่งสิ่งที่คนทำธุรกิจควรให้ควรความใส่ใจในการเลือกใช้บริการ เพราะ Hosting คือพื้นที่ช่วยจัดเก็บ บริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ บนเว็บไซต์ แล้วบริการโฮสติ้งแต่ละประเภทเหมาะกับธุรกิจแบบใด มีแนวทางในบริการโฮสติ้งอย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ

สารบัญบทความ

Hosting คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

Hosting (โฮสติ้ง) คือ การให้บริการพื้นที่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและใช้บริการข้อมูลหรือเนื้อหาต่าง ๆ ของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ เป็นดั่งสถานที่เก็บข้อมูลและเป็นสถานที่ตั้งของเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแสดงผลได้ตลอด 24 ชั่วโมง

โดยทั่วไปแล้ว หน้าที่ของ Hosting คือ จัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ (Data Storage) จัดการระบบรับ-ส่งข้อมูล และบริการอื่น ๆ ดังนี้

  • ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือเว็บไซต์ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทางอินเทอร์เน็ต
  • ใช้บริการโฮสติ้งไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างและดูแลเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเองเสมอไป ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการตลาดได้
  • สำหรับ Host Server มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง สามารถรักษาข้อมูลได้ดี ช่วยปกป้องข้อมูล จากการโจรกรรมต่าง ๆ รวมถึงมีระบบสำรองข้อมูล
  • บริการโฮสติ้งมาพร้อมกับระบบสำรองข้อมูล (backup) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
  • ช่วยจัดเก็บไฟล์และข้อมูลซึ่งเป็นส่วนประกอบของเว็บไซต์ เช่น รูปภาพ ข้อมูล โค้ด ที่มีความจำเป็นสำหรับเว็บไซต์

บริการโฮสติ้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องสร้างหรือดูแลเซิร์ฟเวอร์ของตนเอง

ประเภท Hosting ยอดนิยม

ประเภท Hosting

แม้ในปัจจุบันจะมี Hosting ให้เลือกอยู่หลากหลายประเภท แต่ Hosting Service แบบไหนที่จะเหมาะกับเว็บไซต์ มีข้อดี และข้อจำกัดแตกต่างกันอย่างไร ผู้ลงทุนหรือเจ้าของเว็บไซต์ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดในส่วนนี้ให้ดี

1. Shared Hosting

Shared Hosting เป็นการให้บริการโฮสติ้งร่วมกัน เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีการใช้งานไม่หนักมาก เพราะจัดแบ่งระบบ Web Hosting ออกเป็นส่วน ๆ ให้ผู้ใช้บริการเช่า สรุป Shared Hosting คือ หลายเว็บไซต์ใช้ทรัพยากรภายในเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน จึงเป็น Hosting ราคาถูก ใช้งานง่ายสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็กถึงกลาง มีผู้คอยดูแลระบบ

แต่ก็มีข้อจำกัดของ Shared Hosting คือ พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลค่อนข้างจำกัด ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ได้ จึงไม่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขององค์กรขนาดใหญ่ นอกจากนี้ หากเว็บไซต์อื่นภายในเซิร์ฟเวอร์เดียวกันติดไวรัส ก็จะทำให้เว็บไซต์อื่น ๆ อาจจะโดนไวรัสไปด้วย

2. VPS (Virtual Private Server)

VPS (Virtual Private Server) เป็นบริการโฮสติ้งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะให้บริการแบบเซิร์ฟเวอร์เสมือน โดยผู้ใช้งานจะได้เซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ที่เหมือนกับมีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง ไม่ต้องแชร์ทรัพยากรร่วมกับเว็บไซต์อื่น ๆ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ต้องการเพิ่มข้อมูล โปรแกรม หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทำให้มีความเสถียรสูงกว่า Shared Hosting ด้วย Bandwidth และ Data Transfer แบ่งแยกการใช้งานอย่างชัดเจน

ด้วยข้อดีคือ ความอิสระ สามารถใช้งานได้หลากหลายกว่า ส่งผลให้ราคา Hosting สูงกว่า Shared Hosting แต่ในภาพรวมแล้ว เป็นระบบ Web Hosting ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า ไม่ต้องกังวลปัญหาเว็บล่ม ไม่ต้องใช้ทรัพยากรในเซิร์ฟเวอร์ร่วมกับใคร สามารถลงโค้ดเฉพาะทางต่าง ๆ ได้มากมาย

3. Cloud Hosting

Cloud Hosting คือ การใช้ทรัพยากรจากเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในคลาวด์ (Cloud) มีข้อดีของบริการโฮสติ้งตรงที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขนาดทรัพยากรได้ตามความต้องการ อีกทั้งยังมีความเสถียรสูง แต่ข้อจำกัดของ Cloud Hosting คือราคา Hosting อาจสูงกว่า Shared Hosting

4. Dedicated Server Hosting

Dedicated Server Hosting คือ การเช่าโฮสหรือเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดในระบบสำหรับหนึ่งเว็บไซต์ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป ซึ่งต้องการความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของข้อมูลสูง รวมถึงความเสถียรของเว็บไซต์ ทำให้สามารถปรับแต่งเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ เต็มประสิทธิภาพ

ด้วยข้อดีดังกล่าว ส่งผลให้ข้อจำกัดของ Dedicated Server Hosting คือ เรื่องราคา Hosting ค่อนข้างสูงกว่าระบบ Web Hosting ข้างต้น อีกทั้งยังต้องการการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นอกจากนี้ อาจจะต้องปรับแต่งความแรงของเซิร์ฟเวอร์เอง จึงอาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

5. Collocated Hosting

Collocated Hosting คือ เว็บไซต์มีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเอง ทำให้มีความอิสระ สามารถปรับแต่งระบบ Web Hosting ได้ตามความต้องการ ด้วยข้อจำกัดทางด้านราคา Hosting ที่สูง เพราะค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ค่าเช่าสถานที่ตั้ง ค่าดูแลระบบของเจ้าหน้าที่ การเพิ่มเติมประสิทธิภาพต่าง ๆ ธุรกิจจะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด

6. WordPress Hosting

WordPress Hosting เป็นโฮสต์ที่ได้รับการออกแบบ เพื่อรองรับการใช้งานของเว็บไซต์ที่สร้างจากโปรแกรม WordPress ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อดีตรงที่ติดตั้งง่าย แต่ข้อจำกัดของ WordPress Hosting คือ สามารถใช้งานได้เฉพาะ WordPress เท่านั้น

เลือก Hosting อย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งานเว็บไซต์

การเลือก Web Hosting จากประเภทของระบบ Web Hosting หลากหลายข้างต้น จะต้องพิจารณาเลือกให้ดี เพราะแต่ละบริการโฮสติ้งก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป ส่งผลต่อการบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ดังนั้น จึงขอแนะนำแนวทางเลือก Hosting คือ

1. เลือก Hosting ให้เหมาะกับการใช้งานเว็บไซต์

สิ่งสำคัญของการเลือก Hosting คือ การพิจารณาความต้องการของเว็บไซต์ของธุรกิจ เช่น ขนาด ปริมาณข้อมูล ปริมาณการใช้งาน หากธุรกิจมีขนาดเล็กถึงกลางก็ควรเลือกใช้ Shared Host แต่ถ้าต้องการความเสถียร ก็ควรเลือก VPS หรือ Cloud Hosting รวมถึงประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อ ค่าใช้จ่าย ความปลอดภัยของข้อมูล ความยืดหยุ่นในการปรับแต่ง การดูแลรักษา และบริการเสริมอื่น ๆ ดังนั้น 

2. Hosting มีเครือข่าย Server อยู่ภายในประเทศ

อีกหนึ่งแนวทางเลือกสำคัญของ Hosting คือ ผู้ให้บริการควรจะมีเครือข่าย Server อยู่ภายในประเทศ เพราะทำให้ผู้ใช้ในประเทศเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว สัญญาณรับมีความเสถียรมากกว่า ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจภายในประเทศ และถ้าหากมีปัญหาเกี่ยวกับบริการโฮสติ้ง ต้องการติดต่อทีมการดูแลรักษา ก็สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น

3. ผู้ให้บริการดูแลระบบตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่อเลือกใช้บริการโฮสติ้ง สิ่งที่หลายธุรกิจต้องการจากผู้ให้บริการ Hosting คือ มีผู้ให้บริการดูแลระบบตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแก้ไขปัญหาทันที เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ปัญหาการเชื่อมต่อ เว็บไซต์ล่ม ปัญหาความปลอดภัย หรือปัญหาในช่วงเวลาอื่น ซึ่งการดูแลระบบ Web Hosting ตลอด 24 ชั่วโมงนี้ จะทำให้เว็บไซต์มีความเสถียรตลอดเวลา

4. มีการประมวลผลรับ-ส่งข้อมูลที่รวดเร็ว

การประมวลผลรับ-ส่งข้อมูลที่รวดเร็วมีความสำคัญสำหรับประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของผู้ใช้งาน ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของบริการโฮสติ้ง เพราะระบบ Web Hosting จะต้องมีความเสถียร เซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพสูง ใช้เทคโนโลยีทันสมัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลและส่งข้อมูล อาจจะใช้ CDN (Content Delivery Network) เพิ่มความเร็ว หรือใช้แคช (Caching) ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน เพื่อทำให้ Hosting service ทำงานได้เร็วขึ้น

5. มีระบบการ Back Up ข้อมูลที่ดี

ระบบ Web Hosting จะต้องมีระบบสำรองข้อมูล (Backup) ที่ดี เพื่อปกป้องข้อมูล ไม่ให้สูญหายหรือจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การโจรกรรม ระบบล่ม ลบข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น จึงต้องมีระบบ Back Up ข้อมูลทันสมัย เป็นระบบ ทำงานโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไข หรือสามารถเลือกสำรองข้อมูลเฉพาะที่สำคัญ มีฟังก์ชันทดสอบการสำรองข้อมูลและคืนค่าข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถกู้คืนข้อมูลได้

6. ขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

อีกหนึ่งความสำคัญของ Hosting คือ ขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เว็บไซต์หรือธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยวิเคราะห์ ทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด สร้างเนื้อหาให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม ผ่านช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย อีเมล แอปพลิเคชัน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

7. มั่นใจได้ในความปลอดภัยของข้อมูล

ผู้ใช้บริการโฮสติ้งมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลได้ มีการตรวจสอบ ปรับแต่งตั้งค่าความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ เช่น ตั้งค่า firewall ปิดช่องโหว่ต่าง ๆ เพิ่มระดับความปลอดภัยในการเข้าถึง ซึ่งสามารถประสานงานกับผู้ให้บริการโฮสติ้งมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงพอ สามารถตรวจสอบ อัปเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันช่องโหว่ทางความปลอดภัย

8. มีรีวิว และประวัติการบริการที่น่าเชื่อถือ

ก่อนเลือกใช้ระบบ Web Hosting ใด สิ่งสำคัญของการเลือก Hosting คือ ตรวจสอบรีวิวจากผู้ใช้บริการรายก่อน จากโซเชียลมีเดีย ตรวจสอบสถิติการทำการ (uptime) ของเว็บไซต์หรือเซิร์ฟเวอร์ ถ้ามีค่าสูงแสดงว่ามีความเสถียร รวมถึงรางวัลที่บริษัทเคยได้รับ มีอายุหรือประสบการณ์ยาวนาน สามารถตรวจสอบการทำงานได้ ติดต่อประสานงานได้ง่าย ราคาสมเหตุสมผล

9. มี Data Transfer และ Bandwidth ที่สัมพันธ์กัน

ระบบ Web Hosting มี Data Transfer และ Bandwidth ที่สัมพันธ์กัน โดย Data Transfer คือ ปริมาณข้อมูลที่เข้า-ออกจากเซิร์ฟเวอร์ในหน่วยเวลานั้น ๆ ส่วน Bandwidth คือ ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลในหน่วยเวลา ดังนั้น หาก Data Transfer และ Bandwidth มีความสัมพันธ์กัน ย่อมหมายถึง ความเสถียรของระบบ ซึ่งสามารถรองรับปริมาณข้อมูลได้จำนวนมาก

10. ฟีเจอร์หลากหลาย การใช้งานเข้าใจง่าย

อีกองค์ประกอบของการเลือก Hosting คือ ต้องมีฟีเจอร์หลากหลาย อินเตอร์เฟซใช้งานง่าย สร้างประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience – UX) ที่ดี ทำให้ผู้ใช้ปรับแต่งได้ตามความต้องการ เช่น เปลี่ยนสี ปรับตั้งค่าต่าง ๆ มีระบบเสริมความปลอดภัย แสดงข้อมูลชัดเจน สามารถติดตามผลการทำงานได้ ใช้งานได้หลายแพลตฟอร์ม เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันมือถือ เป็นต้น

สรุป Hosting คืออะไร

Hosting คือ การให้บริการพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ ซึ่งเหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการเพิ่มโอกาสแบบออนไลน์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเลือกเช่าโฮสจากบริษัทรับทำเว็บไซต์ชั้นนำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการอย่าง Markety ซึ่งให้บริการรับทำLanding Page และ รับทำSale Page มาอย่างยาวนาน ด้วยทีมงานคุณภาพ พร้อมให้คำปรึกษาและให้บริการตลอดเวลา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการระบบ Hosting

1. อินเทอร์เน็ตช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจออนไลน์อย่างไร

อินเทอร์เน็ตช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจออนไลน์ได้อย่างมากมาย เพราะทำให้ธุรกิจเข้าถึงตลาดทั่วโลก ลดต้นทุนในหลายด้าน เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริการทางการตลาด อีกทั้งยังช่วยรักษาฐานลูกค้าได้ง่ายขึ้น สร้างความพึงพอใจด้วยบริการอันรวดเร็ว ใช้เครื่องมือตลาดทางออนไลน์ เช่น โซเชียลมีเดีย ทำ SEO ทำการตลาด รวมถึงติดต่อลูกค้า ดังนั้น Hosting คือ ตัวช่วยสำคัญในการขยายธุรกิจ

2. Hosting ส่งผลดีต่อการทำ SEO อย่างไร

การเลือกใช้บริการโฮสติ้งมีผลดีต่อการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพราะ Hosting คือ บริการจัดเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ มีผลต่อการจัดอันดับในผลการค้นหา รวมถึงความเสถียรและประสิทธิภาพของระบบ Web Hosting ช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้ Google มองว่า เว็บไซต์มีคุณภาพสามารถติดอันดับแรกในการค้นหาได้ จึงเป็นการสร้างความได้เปรียบในการทำ SEO 

3. Memory และ Speed ของ Hosting สามารถอัปเกรดได้ไหมในอนาคต

การอัปเกรด Memory (RAM) และ Speed ของ Hosting คือ การพัฒนาระบบ Web Hosting สามารถทำได้ในหลายกรณี ขึ้นอยู่กับประเภทของ Hosting ที่เลือกใช้ ในบาง Hosting จะต้องทำผ่านผู้ให้บริการโฮสติ้ง แต่บางประเภทก็สามารถทำได้โดยตรงผ่านการเพิ่มหรือสลับฮาร์ดแวร์ หรือผ่านแผงควบคุม Cloud Provider เป็นต้น

อ้างอิง 

Domantas G.. (2023, September 29). What Is Web Hosting – Web Hosting Explained for Beginners. https://www.hostinger.com/tutorials/what-is-web-hosting/

Margaret Rouse. (2012, October 22). What Does Hosting Mean?. https://www.techopedia.com/definition/29023/web-hosting

Kinza Yasar. (2023, February). hosting (website hosting, web hosting and webhosting). https://www.techtarget.com/whatis/definition/hosting-Web-site-hosting-Web-hosting-and-Webhosting

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update