สิ่งสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจ ก็คือ ลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจมีพฤติกรรม ความต้องการ หรือแรงจูงใจอะไร จึงจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่าง Persona แล้ว Persona คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร สามารถนำไปประยุกต์กับกลยุทธ์การตลาดอื่น ๆ เช่น Digital marketing ได้อีกหรือไม่ เราไปดูกัน
สารบัญบทความ
รู้จักกับ Persona
Persona หรือ User Persona คือ แนวคิดหรือหลักการในการออกแบบจำลองกลุ่มลูกค้าของธุรกิจ เป็นแนวคิดทางการตลาด (Persona Marketing) ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง เพื่อตีกรอบเป้าหมาย ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ดีขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลจากการวิจัย การวิเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก นำมาประกอบการวางแผนทางการตลาดของธุรกิจต่อไป เช่น
- ข้อมูลพื้นฐาน: อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ ฯลฯ
- ประวัติ: ภูมิหลังส่วนตัว อาชีพ ประสบการณ์
- เป้าหมาย: กลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร โดยเฉพาะการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- พฤติกรรม: กลุ่มเป้าหมายใช้วิธีอะไรผ่านเทคโนโลยี ความถี่ในการใช้ผลิตภัณฑ์
- ปัญหา: ความไม่พอใจของกลุ่มเป้าหมายในระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- แรงจูงใจ: สิ่งที่ผลักดันให้ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- ความต้องการ: ฟังก์ชันหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งลูกค้าพบว่ามีประโยชน์
- การให้บริการ: แนวทางการให้บริการของธุรกิจ ทั้งก่อน-หลังการขาย
นอกจากนี้ หากมีใครถามว่า Customer Persona คืออะไรหรือ Target Persona คืออะไร ทั้ง 2 ชื่อก็ล้วนแต่หมายถึง Persona กันทั้งสิ้น เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้ธุรกิจสามารถวางแผนทางการตลาดตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามกระแสต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที
Persona กับประโยชน์ทางด้านธุรกิจ
เมื่อเราทราบกันแล้วว่า Persona คืออะไร โดย Persona คือ การจำลองกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ จะทำให้ธุรกิจมองภาพรวมของลูกค้าได้ชัดเจน ลึกขึ้น ซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของเพอโซน่าได้ ดังนี้
- Persona เป็นแนวทางที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนโฟกัสจากสมมติฐานไปสู่ความต้องการ ความพึงพอใจของลูกค้าจริง เพิ่มโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการโดนใจลูกค้า สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การมีส่วนร่วมกับลูกค้า
- เป็นการทำความเข้าใจลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยให้ธุรกิจวางแผนทางการตลาดให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงได้ หรือเพิ่มแคมเปญ เพื่อดึงดูดผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า
- Persona ช่วยให้ธุรกิจออกแบบ ปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงขึ้น อัตราตีกลับลดลง
- ช่วยให้ธุรกิจลดความเสี่ยงในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่เป็นไปตามความคาดหวังของลูกค้าได้ ช่วยประหยัดทรัพยากร รวมถึงลดปัญหาความผิดพลาด
- Persona ช่วยจัดลำดับความสำคัญความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาวางแผนธุรกิจ ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรกับสิ่งที่ไม่จำเป็น
- ช่วยแก้ปัญหาความไม่พึงพอใจของลูกค้า เป็นการตรวจสอบ พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์-บริการให้โดดเด่นกว่าเดิม
- เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ด้วยทำให้ลูกค้าเล็งเห็นว่า ธุรกิจให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของลูกค้า จึงมีการอุดหนุนในระยะยาว
- Persona ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ใช้ผลลัพธ์จากการวิจัยหรือวิเคราะห์มีความแม่นยำ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลตามการตอบสนองของกลุ่มเป้าหมายได้
- ช่วยให้ทุกคนภายในองค์กรธุรกิจมีความเข้าใจในตัวของกลุ่มเป้าหมายตรงกัน ทำให้กลยุทธ์ทางการตลาดมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
- นำข้อมูลจาก Persona ไปต่อยอดกลยุทธ์การตลาดต่าง ๆ เช่น การสร้าง Customer Journey, การทำการตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Marketing, การออกแบบ UX Designing เป็นต้น
Persona กับกลุ่มเป้าหมาย
Persona จะทำให้เราได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาประกอบการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจต่าง ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การสื่อสารภายในธุรกิจ ทำให้ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การขาย การสนับสนุนลูกค้าให้สอดคล้องกัน
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้สอดคล้องกับความชอบ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดลำดับความสำคัญ ทดสอบแนวคิด เพื่อตรวจสอบความคุ้มค่า
- Persona Marketing ด้วยการสร้างแคมเปญการตลาดให้สอดคล้องกับแรงจูงใจของกลุ่มเป้าหมาย
- การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience: UX) ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น
- รวบรวมคำติชม ข้อเสนอแนะจากผู้ใช้จริง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ปรับกลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น
- วิเคราะห์ข้อมูล Persona ด้วยเกณฑ์/ตัวชี้วัด เพื่อประเมินกลยุทธ์-ผลิตภัณฑ์ว่ามีความสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
- ทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ซึ่งเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
- จัดกลุ่มกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะนิสัย พร้อมสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดเฉพาะสำหรับแต่ละกลุ่ม
Persona กับ Customer Segment แตกต่างกันอย่างไร
Persona กับ Customer Segment เป็นแนวคิดในการทำความเข้าใจและจัดประเภทกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้
Persona คือ การแสดงรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลประชากร พฤติกรรม แรงจูงใจ เป้าหมาย ปัญหา รายละเอียดเชิงลึกต่าง ๆ เพื่อช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และกลยุทธ์ทางการตลาดสอดคล้องกับความต้องการและความชอบเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย เป็นแนวคิดเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง ช่วยให้ทีมงานมีความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ด้วยข้อมูลเชิงลึก ทั้งลักษณะเฉพาะ พฤติกรรม และเรื่องเล่าส่วนบุคคล
ส่วน Customer Segment คือ การจำแนกกลุ่มลูกค้าในลักษณะกว้างขึ้น ทั้งในด้านพฤติกรรม ความต้องการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มและทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการโดยรวมของกลุ่มเป้าหมาย แนวคิดนี้ ช่วยระบุว่าลูกค้ากลุ่มใดมีค่ามากที่สุด ใช้ช่องทางใดในการสื่อสาร และวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์อย่างไร เน้นลักษณะทั่วไปในภาพรวมของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ลงรายละเอียดเชิงลึกเหมือน Persona
การวิเคราะห์ของ Persona
การวิเคราะห์ Persona แบ่งออกเป็น 2 ประเภท เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุม โดยแต่ละประเภท มีรายละเอียด ดังนี้
วิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)
การวิเคราะห์เชิงปริมาณของ Persona เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลตัวเลข เพื่อระบุรูปแบบ แนวโน้ม และข้อมูลเชิงลึกทางสถิติเกี่ยวข้องได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น ข้อมูลประชากร พฤติกรรมการซื้อ เป็นต้น จากแบบสำรวจ เครื่องมือวิเคราะห์ ฐานข้อมูลลูกค้า และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
- แบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามลักษณะทั่วไป เช่น อายุ ความถี่ในการซื้อ ฯลฯ
- สร้างข้อมูลสำหรับแต่ละกลุ่ม เช่น ข้อมูลแสดงอายุเฉลี่ย ช่วงรายได้ พฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
- นำข้อมูลของกลุ่มต่าง ๆ มาเปรียบเทียบ เพื่อระบุความแตกต่างในด้านพฤติกรรมและความชอบ
- ทำการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ รูปแบบ และแนวโน้ม เช่น กลุ่มเป้าหมายใดมีแนวโน้มสนใจผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ การตอบรับแคมเปญการตลาด
- ใช้วิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อนำมาตัดสินใจกำหนดเป้าหมายแต่ละกลุ่มลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
วิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพของ Persona เกี่ยวกับการทำความเข้าใจประสบการณ์ส่วนตัว แรงจูงใจ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายผ่านข้อมูลไม่ใช่ตัวเลข ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
- รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การทดสอบผู้ใช้ คำถามแบบสำรวจปลายเปิด เป็นต้น
- ตรวจสอบข้อมูล เพื่อระบุประเด็น รูปแบบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการ ประเด็นปัญหา พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
- ใช้ข้อมูลเชิงลึกเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนา ปรับปรุงธุรกิจ หมั่นตรวจสอบว่า มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง
- ใช้ข้อมูลในการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจ ระดมความคิดในการแก้ปัญหาร่วมกัน
- รวบรวมคำติชม คำเสนอแนะจากกลุ่มลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
สรุป
Persona คือ แนวคิดทางการตลาดเกี่ยวกับการจำลองลักษณะต่าง ๆ ของกลุ่มลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการของธุรกิจ หากท่านใดประกอบธุรกิจและมีความสนใจจะทำ Persona เราขอแนะนำ Markety บริษัทรับทำ Landing Page และรับทำ Sale Page จะช่วยให้ธุรกิจวางแผนทางการตลาดได้ง่ายขึ้น โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทร 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย) และ 061-924-7449 (ฝ่ายขาย) หรืออีเมล [email protected]
Persona กับคำถามที่พบบ่อย
Persona กับ Target market แตกต่างกันอย่างไร
Persona เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก มีข้อมูลรายละเอียดมากขึ้น เจาะลึกความต้องการเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมต่างของกลุ่มเป้าหมายได้ ส่วน Target market จะกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ซึ่งต้องพยายามเข้าถึง จัดสรรทรัพยากร กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด โดยแนวคิดทั้ง 2 ล้วนแต่มีความสำคัญต่อการวางแผนการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
เราจะนำ Persona ไปประยุกต์ใช้กับ UX design ได้หรือไม่
เราสามารถนำ Persona ไปประยุกต์ใช้กับ UX design ได้ ด้วย UX design คือ การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สอดคล้องกับแนวคิดของ Persona พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลเชิงลึก พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า เป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยอ้างอิงจากการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในธุรกิจด้านอื่น ๆ ต่อไป
สามารถเกิดความผิดพลาดในการทำ Persona ได้หรือไม่
ในการทำ Persona ก็สามารถเกิดความผิดพลาดได้ ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ข้อมูลที่ได้รับมาไม่ถูกต้อง สมมติฐานมีความคลาดเคลื่อน ใช้ข้อมูลวิเคราะห์ปริมาณมากเกินไป ขาดการตรวจสอบความถูกต้อง ไม่มีการอัปเดตข้อมูล เกิดความลำเอียงของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด ทำงานกับทีมมีความหลากหลาย เพื่อลดความลำเอียง มีความรอบคอบ
อ้างอิง
Aaron Beashel. (Jan 18, 2023). Marketing Personas + Free Templates. https://buffer.com/library/marketing-personas-beginners-guide/
John Hughes. (March 14, 2023). Personas: What They Are, How to Make Them, and How to Use Them in Marketing. https://www.elegantthemes.com/blog/marketing/personas
Pamela Vaughan. (September 29, 2022). How to Create Detailed Buyer Personas for Your Business [Free Persona Template]. https://blog.hubspot.com/marketing/buyer-persona-research