Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

Firewall คืออะไร มีกี่ประเภท ใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์

Firewall คือ

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า ภัยคุกคามที่แฝงตัวอยู่ในโลกดิจิทัลก็เร่งพัฒนาตัวเองเพื่อคุกคามการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ทำให้การเปิดใช้งาน Firewall กลายเป็นหนึ่งในทางเลือกสำคัญ ที่หลาย ๆ องค์กรไว้ใจให้รักษาความปลอดภัยข้อมูลทางไอที แต่ Firewall คือตัวเลือกที่ดีจริงไหม ใช้งานได้จริงหรือเปล่าบทความนี้มีคำตอบ 

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน firewall คือตัวช่วยที่จะทำให้คุณสามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลาได้อย่างทันท่วงที มาสำรวจประเภทและประโยชน์จากการใช้งาน Firewall ไปพร้อม ๆ กัน

สารบัญบทความ

Firewall คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง

firewall คือเครื่องมือในการรักษาความปลอดภัยการรับส่งข้อมูลเครือข่าย ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ คัดกรอง และควบคุมการส่งสารผ่านระบบ Network ทั้งขาเข้าและขาออก ตามกฎความปลอดภัย และนโยบายที่ผู้ใช้งานได้กำหนดไว้ ความสำคัญของมันเปรียบเสมือนกับกำแพง ที่คอยตรวจสอบ ควบคุมแพ็คเกจข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครือข่ายทั้งภายใน ภายนอกหน่วยงานให้ปลอดภัย


เปรียบเสมือน Firewall คือกลไกในการป้องกันเชิงรุกที่ทำหน้าที่รับรองความสมบูรณ์และรักษาความลับของข้อมูลที่ละเอียดอ่อน สำคัญ เป็นดั่งยามที่ทำหน้าที่เฝ้าระวัง บังคับใช้นโยบายความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงของการบุกรุกที่ไม่ได้รับอนุญาต

ประเภทของ Firewall มีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร

ประเภทของ firewall

1.Hardware Firewall

Hardware firewall คืออุปกรณ์ที่คอยทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายภายในกับเครือข่ายภายนอกแบบไม่แชร์ฮาร์ดแวร์กับใคร ทำงานในรูปแบบตรวจจับการรับส่งข้อมูลขาเข้าและขาออกตามความปลอดภัยที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ไฟลล์วอลล์ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลผลที่สูงมาก ยากต่อการเจาะระบบเพื่อโจรกรรมข้อมูล มีความเสถียร และความปลอดภัยสูง จึงเป็นรูปแบบ firewall ที่หลาย ๆ องค์กรไว้ใจเลือกใช้งาน 

2.Software Firewall

Software firewall คือโปรแกรมที่สามารถติดตั้งได้ทั้งบนระบบของ Client และ Server มักจะทำงานคู่กับ Window Defender และ UFW มีศักยภาพในการช่วงป้องกันความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ใช้เครื่อง CPU ในการประมวลผลเป็นหลัก 

Software firewall ถูกจัดอยู่ในกลุ่มซอร์ฟแวร์ที่ทำหน้าที่ได้ดีในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์สำหรับการงานในรูปแบบส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ไม่เหมาะสำหรับการทำงานทั้งองค์กร 

3.Packet Filtering Firewall 

Packet filtering firewall คือไฟล์วอลล์สำหรับตรวจสอบแพ็คเกจหรือข้อมูลว่าตรงตามที่ผู้ดูแลกำหนดกฎและนโยบายไว้หรือไม่ โดยมีการพิจารณาจากข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่ IP ต้นทาง-ปลายทาง หมายเลขพอร์ต ไปจนถึงโปรโตคอล ก่อนจะตรวจสอบแพ็คเกจข้อมูลแต่ละชุด เพื่อนำไปพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือบล็อกตามกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้าต่อไป แม้ว่าไฟลล์วอลล์ส่วนนี้จะสามารถรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานได้ แต่ขาดความสามารถในการตรวจสอบขั้นสูง ไม่สามารถตรวจจับข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้

4.Circuit-level Gateway

Circuit-level gateway ทำงานคล้ายกับ Packet filtering firewall โดยจะจำลองเครือข่ายการเชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบความถูกต้องของการเชื่อมต่อข้อมูลและอุปกรณ์ เพียงแต่ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลประเภทแพ็คเกจได้ 

5.Stateful Inspection Firewall

Stateful inspection firewall คือเครื่องมือที่จะตรวจสอบระบบแพ็คเกจ โดยไฟลล์วอลล์เหล่านี้จะติดตามสถานะของการเชื่อมต่อและคอยตรวจสอบว่าแพ็คเกจนี้เคยเข้ามาก่อนแล้วหรือไม่ ถ้าเคยจะนำแพ็คเกจเหล่านั้นมาพิจารณารวมกัน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น มากกว่าการตรวจแพ็คเกจเพียงอย่างเดียว

6.Application-level Gateway

เป็น firewall ที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อไปยัง Router ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างระบบภายในและภายนอก ทั้งยังตรวจสอบ คัดกรองการรับส่งข้อมูล ไปจนถึงการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้ นอกจากนั้นยังทำให้สามารถควบคุมแอปพลิเคชัน หรือโปรโตคอลเฉพาะได้อย่างละเอียด โดยมีการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง 

7.Next-generation Firewall

Next-generation firewall คือเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อยอดขึ้น โดยผสมผสานคุณสมบัติของ firewall หลากหลายอย่างเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นไฟล์วอลล์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งครอบคลุมทั้งเส้นทางการเชื่อมต่อ แพ็คเกจที่ทำการส่งเข้า-ออก ก็ได้รับการตรวจสอบเช่นกัน หรือสรุปได้คือสามารถเรื่องความปลอดภัย ระบบตรวจจับ ป้องกันการบุกรุก ไปจนถึงการสแกนมัลแวร์ต่าง ๆ อีกด้วย

ประโยชน์ของ Firewall มีอะไรบ้าง 

การทำความเข้าใจประโยชน์ในการใช้งาน firewall คือสิ่งสำคัญ เพื่อให้การใช้งาน firewall นั้นมีผลลัพธ์ที่เห็นผล และใช้งานได้ตรงจุดประสงค์มากที่สุด

1.เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต

ไฟลล์วอลล์ทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้พิทักษ์ เสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบอินเทอร์เน็ต คอยสร้างกำแพงที่ปลอดภัยระหว่างเครือข่ายภายใน รวมถึงภัยคุกคามภายนอกที่อาจเกิดขึ้น ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจ โดยรู้ว่าการทำกิจกรรมต่างบนช่องทางออนไลน์ของพวกเขาได้รับการปกป้องอย่างดี

2.ตรวจสอบ และป้องกันคอมพิวเตอร์ติดมัลแวร์

มัลแวร์ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์ ไฟลล์วอลล์มีบทบาทเชิงรุก ที่จะทำการตรวจสอบ รวมถึงป้องกันการแทรกซึมของมัลแวร์อย่างต่อเนื่อง กลไกการป้องกันแบบเรียลไทม์นี้นั้น ช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์จากผลกระทบที่อาจสร้างความเสียหายของไวรัส สปายแวร์ ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายต่าง ๆ และยังรวมไปถึงเว็บไซต์ที่อันตราย

3.ลดโอกาสการถูกโจรกรรมข้อมูล

หน้าที่หลักประการหนึ่งของไฟลล์วอลล์ คือการควบคุม รวมถึงการส่งข้อมูล การทำเช่นนี้จะช่วยลดโอกาสการขโมยข้อมูลได้อย่างมาก ช่วยปกป้องข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น เพื่อไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี

4.ป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์

firewall คือปราการด่านแรกที่จะช่วยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยการตรวจสอบ คัดกรองการรับส่งข้อมูลขาเข้า-ขาออกอย่างดี พร้อมช่วยขัดขวางภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณจากการโจมตีทางไซเบอร์

5.หยุดยั้งการถูกโจรกรรมข้อมูลสำคัญ

การป้องกันการแฮ็กข้อมูล ถือเป็นประโยชน์สูงสุดของไฟลล์วอลล์ตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ทั้งคอยบล็อกในการเจาะข้อมูลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกทางการเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการสื่อสารที่เป็นความลับ ไฟลล์วอลล์ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

สรุปเกี่ยวกับ Firewall คืออะไร

บทบาทที่สำคัญของ firewall คือ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเน้นความจำเป็นในการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ และรักษาความสมบูรณ์ของระบบ ซึ่งไฟลล์วอลล์หลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละอย่างก็มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกัน แต่หัวใจสำคัญคือการปกป้องผู้ใช้งานจากผู้ไม่หวังดีผ่านช่องทางออนไลน์

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงประโยชน์ของไฟลล์วอลล์ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยของระบบอินเทอร์เน็ต การป้องกันการติดมัลแวร์ การลดความเสี่ยงในการโจรกรรมข้อมูล การป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ และการปกป้องข้อมูลสำคัญจากการพยายามแฮ็ก การทำความเข้าใจข้อดีเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลและองค์กรที่ต้องการเสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

Markety พร้อมให้บริการรับทำเว็บไซต์Landing Page และ Sale Page ผ่านรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่แข็งแรง ช่วยเป็นเครื่องป้องกันมัลแวร์อีกแรงนอกจากไฟล์วอลล์ เพื่อสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ ในการสร้างความปลอดภัยผ่านช่องทางออนไลน์ที่แข็งแกร่ง ขณะเดียวกันก็ปกป้องข้อมูลอันมีค่าและข้อมูลลูกค้า การผสมผสานระหว่างบริการที่ล้ำสมัยกับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง ก่อให้เกิดกลยุทธ์แบบองค์รวมเพื่อความสำเร็จ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้งาน Firewall

หลังจากที่ทราบกันไปว่า Firewall คืออะไร เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนยังคงมีคำถามคาใจ และ Markety พบว่าคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Firewall นั้น มีดังนี้ 

1. วิธีการเปิดใช้งาน Firewall ผ่าน Window 10

การเปิดใช้งานไฟลล์วอลล์ใน Windows 10 นั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน มีความสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ คำแนะนำทีละขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีเปิดใช้งานไฟลล์วอลล์ผ่าน Windows 10 มีดังนี้

  1. เข้าถึงความปลอดภัยของ Windows โดยเริ่มจากคลิกที่เมนู Start ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ เลือก “Setting” ที่เป็นรูปฟันเฟือง เพื่อเปิดเมนูการตั้งค่า แล้วเลือก “Update & Security”
  1. หลังจากเลือก “Update & Security” จากเมนูด้านซ้าย แล้วเลือก “Windows Security”
  1. เปิดไฟลล์วอลล์และการป้องกันเครือข่าย ในเมนู “Windows Security” ให้คลิกที่ “Firewall & Network Protection” โดยทั่วไปตัวเลือกนี้จะอยู่ในเมนูด้านซ้ายใต้ปุ่ม “Protection Areas.”
  1. ตรวจสอบสถานะไฟลล์วอลล์ ในส่วน “Firewall & Network Protection” คุณจะเห็นสถานะปัจจุบันของไฟลล์วอลล์ของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไฟลล์วอลล์เปิดอยู่ หากปิดอยู่ ให้คลิกโปรไฟล์เครือข่าย (เช่น “Domain” “Private” หรือ “Public”) ที่คุณต้องการเปิดไฟลล์วอลล์
  1. เปิดใช้งานไฟลล์วอลล์สำหรับโปรไฟล์เครือข่าย คุณจะเห็นสวิตช์สลับสำหรับแต่ละโปรไฟล์เครือข่าย เปิดสวิตช์สลับสำหรับโปรไฟล์เครือข่ายที่คุณต้องการ จากนั้นจึงเปิดใช้งานไฟลล์วอลล์ โดยแต่ละโปรไฟล์นั้นจะใช้งานดังนี้

– Domain มีผลเมื่ออุปกรณ์ของคุณเชื่อมต่อกับโดเมน

– Private สำหรับเครือข่ายที่บ้านหรือที่ทำงานของคุณ

– Public ใช้สำหรับสถานที่สาธารณะ เช่น ร้านกาแฟหรือสนามบิน

  1. ยืนยันการดำเนินการ

 เพื่อยืนยันการดำเนินการ คลิก “ใช่” หรือ “ตกลง” เพื่อเปิดใช้งานไฟลล์วอลล์สำหรับโปรไฟล์เครือข่ายที่เลือก

  1. ตรวจสอบสถานะไฟลล์วอลล์ เมื่อเปิดใช้งานแล้ว คุณจะเห็นว่าไฟลล์วอลล์ปิดอยู่สำหรับโปรไฟล์เครือข่ายที่เลือก ขณะนี้ Windows จะตรวจสอบ ควบคุมการรับส่งข้อมูลเครือข่ายขาเข้า-ขาออก ตามความปลอดภัยที่กำหนดไว้

เมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณมั่นใจได้ว่าไฟลล์วอลล์ Windows 10 ได้ถูกเปิดใช้งานแล้ว โดยเป็นการป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ไปจนถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น การตรวจสอบ หรืออัปเดตการตั้งค่าไฟลล์วอลล์ของคุณเป็นประจำ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมความปลอดภัยให้กับระบบ

2. Firewall ช่วยป้องกันการโจมตีไซเบอร์ได้ 100% หรือไม่

แม้ว่าไฟลล์วอลล์จะมีบทบาทสำคัญในการเสริมการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ต้องเข้าใจว่าไฟลล์วอลล์ไม่ได้ให้การป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ 100% อย่างสมบูรณ์ไฟลล์วอลล์มีประสิทธิภาพในการคัดกรอง ติดตามการรับส่งข้อมูลเครือข่าย ป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ช่วยบรรเทาภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้เบื้องต้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมไปถึงมัลแวร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นระบบรักษาความปลอดภัยจึงต้องมีการอัพเดจอยู่เสมอ เพราะผู้โจมตีทางไซเบอร์จะปรับตัว ทั้งคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ การอัพเดจไฟลล์วอลล์อยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ

อ้างอิง 

Checkpoint. (Jan 05, 2023). What is a Firewall? The Different Types of Firewalls. Checkpoint

https://www.checkpoint.com/cyber-hub/network-security/what-is-firewall/#:~:text=A%20Firewall%20is%20a%20network,network%20and%20the%20public%20Internet

Cisco (Mar 15, 2022). What Is a Firewall?. Cisco

https://www.cisco.com/c/en/us/products/security/firewalls/what-is-a-firewall.html

Fortinet. (July 1, 2022). What Is A Firewall?. Fortinet

https://www.fortinet.com/resources/cyberglossary/firewall

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update