สำหรับการทำเว็บไซต์ไม่ว่าเป็นธุรกิจประเภทไหนก็ต้องการให้ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือใช้เวลาบนหน้าเว็บไซต์ของเรานาน ๆ เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกค้าเริ่มมีความสนใจในสินค้าหรือบริการของเราแล้วนั่นเอง ซึ่งการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้เหมาะสมและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้นั้นมีส่วนที่ช่วยให้ลูกค้าใช้เวลาบนเว็บไซต์ของเราได้มากยิ่งขึ้น ทีนี้บางคนอาจจะมีคำถามเกิดขึ้นมาในใจว่าแล้วเราจะรู้ความต้องการของลูกค้าเราได้อย่างไร? โดยเราสามารถหาคำตอบได้จากการทำ A/B Testing นั่นเอง ซึ่ง A/B Testing คือแนววิธีการทดสอบที่นิยมใช้เปรียบเทียบสำหรับการทำการตลาดบนหน้าเว็บไซต์
ในบทความนี้เรามาทำความเข้าใจกันว่า A/B Testing คืออะไร? มีเทคนิคการทำ A/B Testing อย่างไรบ้าง พร้อมแนะนำเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์จากทำ A/B Testing เพื่อการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ
ทำความรู้จักกับ A/B Testing
A/B Testing คือ กระบวนการทดสอบด้าน UX (User Experience) ที่จะเปรียบเทียบหน้าเว็บไซต์ที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ เพื่อทดสอบว่าการจัดวางองค์ประกอบ (Element) บนหน้าเว็บไซต์รูปแบบไหนที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ที่ดีกว่าและนำไปสู่ยอด Conversion ที่เพิ่มขึ้นมากกว่ากันยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มปุ่มสีแดงในรูปแบบ A และการเพิ่มปุ่มสีเขียวแบบเดียวกันในรูปแบบ B
หลังจากนั้นทำการสุ่มแสดงผลหน้าเว็บไซต์แต่ละรูปแบบให้ผู้ใช้งานที่มี Segment เดียวกัน และดูผลลัพธ์ว่าหน้าเว็บไซต์รูปแบบไหนที่นำไปสู่การเกิด Conversion มากกว่ากัน ซึ่งการทำ A/B Testing คือวิธีที่จะช่วยให้เราเข้าใจว่าผู้ใช้งานที่เป็นเป้าหมายของเราชื่นชอบการใช้งานเว็บไซต์รูปแบบไหนมากกว่ากัน และสามารถปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางยังสามารถเลือกปรับแต่ง Element อื่น ๆ อย่าง รูปภาพ, กล่องข้อความ, ปุ่ม Add to Cart หรือปุ่มอื่น ๆ บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อทดสอบว่าหน้าเว็บไซต์รูปแบบไหนที่ช่วยให้เกิด Conversion ได้มากที่สุด
วิธีการทำ A/B Testing
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า A/B Testing คืออะไร ถัดมาเราจะมาทำความเข้าใจว่าการทำ A/B Testing สามารถทำแบบไหนได้บ้าง โดยในบทความนี้จะแนะนำวิธีที่นิยมใช้สำหรับการทำ A/B Testing 3 วิธีดังนี้
1. Split URL testing
วิธีแรกของการทำ A/B Testing คือการทำ Split URL testing เหมาะสำหรับบางครั้งที่เราต้องการเปลี่ยนแปลง Element บนหน้าเว็บไซต์ และต้องการทดสอบดูว่าระหว่างหน้าเว็บแบบเดิมกับหน้าเว็บแบบใหม่มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง โดยเมื่อทำการ Split URL testing การเข้าชมหน้าเว็บไซต์จะถูกแบ่งระหว่าง URL ของหน้าเว็บไซต์เดิมกับ URL ของหน้าเว็บไซต์ใหม่ เพื่อทดสอบยอด Conversion ที่เกิดขึ้นจากหน้าเว็บไซต์ทั้งสองรูปแบบ
2. Multivariate testing (MVT)
วิธีที่สองของการทำ A/B Testing คือการทำ Multivariate testing จะเป็นการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของ Element หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ว่าการจัดวาง Element บนหน้าเว็บไซต์รูปแบบไหนที่เหมาะสมและได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งการทำ A/B Testing วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำ A/B Testing เนื่องจากมีความซับซ้อนมากกว่าการทดสอบทั่วไป
3. Multi Page testing
วิธีสุดท้ายของการทำ A/B Testing คือการทำ Multi Page testing จะเป็นการนำ A/B Testing มาใช้เพื่อทดสอบหลาย ๆ หน้าเว็บไซต์พร้อมกัน โดยมีแนวทางการทำ 2 วิธีคือการทดสอบโดยการออกแบบหน้าเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมด กับการทดสอบโดยการเปลี่ยนแปลง Element บางส่วนบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าปัจจัยไหนที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ Conversion ได้มากที่สุด
จุดเด่นของการทดสอบเว็บไซต์ด้วย A/B Testing
การทำ A/B Testing คือวิธีที่จะช่วยให้การปรับปรุงหน้าเว็บไซต์สามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทดสอบเว็บไซต์ด้วยการทำ A/B Testing จะมีจุดเด่นดังนี้
1. ทำ A/B Testing เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience)
การทำ A/B Testing คือการทดสอบหน้าเว็บไซต์เพื่อให้เหมาะสมกับ User Experience ในการใช้งานเว็บไซต์ สำหรับบางหน้าเว็บไซต์ผู้ใช้งานอาจใช้งานแล้วพบว่าเนื้อหาไม่ชัดเจน หาปุ่ม CTA ไม่เจอ หรืองงกับการจัดวาง Element บางอย่าง การทดสอบ A/B Testing สำหรับ UX จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้และสามารถปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ได้อย่างตรงจุด
2. ลดความผิดพลาดในการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ จากความรู้สึก
หลายครั้งการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้มีหน้าตา UI ที่สวยงามแต่กลับไม่ส่งผลให้เกิด Conversion หรือมีระยะเวลาการใช้งานหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ที่น้อยมาก อาจจะเป็นผลมาจากปัญหาทางด้าน UX ต่าง ๆ ซึ่งการทำ A/B Testing จะทำให้เราทราบข้อมูลจากการใช้งานบนหน้าเว็บไซต์จริง ๆ ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีปัญหาในจุดใดบ้าง เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ลดโอกาสในการเกิด Bounce Rate
สำหรับหน้าเว็บไซต์บางหน้าที่มีการดูข้อมูลหลังบ้านแล้วพบปัญหาผู้ใช้งานเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์และออกในทันทีเป็นจำนวนมาก ทำให้เราอาจจะตั้งสมมติฐานได้ว่ามีปัญหาบางอย่างบนหน้าเว็บไซต์ที่อาจส่งผลให้มียอด Bounce Rate สูง การทำ A/B Testing จะช่วยให้ทราบผลลัพธ์หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง Element บนหน้าเว็บไซต์ตามสมมติฐานว่าสามารถช่วยลดการเกิด Bounce Rate ได้จริงหรือไม่
4. หาโอกาสในการสร้าง Conversion ให้กับเว็บไซต์
สำหรับการทำหน้าเว็บไซต์โดยเฉพาะการทำหน้า Sale Page ที่มีจุดประสงค์เพื่อการขายสินค้าบางอย่างโดยเฉพาะแล้ว การทำให้เกิด Conversion คือเป้าหมายที่สำคัญมากของการทำหน้า Sale Page ดังนั้นการทำ A/B Testing ในเชิง Digital Marketing จะเข้ามามีบทบาทในการปรับปรุงคุณภาพของหน้าเว็บไซต์ควบคู่ไปกับการทำ UX ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าเป็นในเรื่องของการให้ข้อมูลสินค้า ตำแหน่งของปุ่ม CTA หรือการประเมินยอด CTR ต่างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้เกิดการสร้าง Conversion ได้
เมื่อไหร่ที่ควรจะเริ่มทำ A/B Testing
การทำ A/B Testing คือวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทดสอบผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงบนหน้าเว็บไซต์ โดยควรเริ่มทำเมื่อต้องการทดสอบแนวทางหรือการเปลี่ยนแปลง Element บางอย่างบนหน้าเว็บไซต์ว่าส่งผลลัพธ์อย่างไรบ้างต่อ UX ของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งการทำ A/B Testing สามารถพิจารณาใช้งานได้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้
- การทดสอบขนาดเล็กก่อนการใช้งานแคมเปญ
- การวัดผลลัพธ์หลังการใช้งานแคมเปญจริง
- สำหรับการปรับปรุง UI บนหน้าเว็บไซต์
- สำหรับการทำการตลาดที่ใช้งบประมาณสูง
- การเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาสินค้าหรือบริการ
- การทดสอบเพื่อดูผลลัพธ์ความพึงพอใจของลูกค้า
A/B Testing เหมาะสำหรับทดสอบอะไรบ้าง
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการทำ A/B Testing คือวิธีการที่ช่วยทดสอบผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลง Element บนหน้าเว็บไซต์ ทีนี้เราจะมาดูไปพร้อม ๆ กันว่า A/B Testing เหมาะสำหรับทดสอบ Element อะไรบ้าง
Layout
การเปลี่ยนแปลงการจัดวาง Element หรือการดีไซน์ Layout ใหม่มักเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ ซึ่งการทดสอบ A/B Testing จะช่วยทดสอบผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ว่าช่วยลดหรือเพิ่มความยุ่งยากในการใช้งานจริงมากน้อยเพียงใด ซึ่งการทดสอบการเปลี่ยนแปลง Layout อาจจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละจุดและคอยทดสอบผลลัพธ์อยู่เรื่อย ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
Navigation
การใช้งานระบบนำทางภายในเว็บไซต์ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากในการส่งต่อผู้ใช้งานจากหน้าเว็บไซต์หนึ่งไปอีกหน้าหนึ่งบนเว็บไซต์ของเรา โดยอาจมีการแทรก Internal link ตรง Keyword ภายในเนื้อหาของบทความเพื่อนำผู้ใช้งานที่สนใจเป็นยังหน้าเว็บไซต์ของ Keyword เหล่านั้นเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม โดยการทดสอบ A/B Testing จะช่วยให้เราทราบว่าโครงสร้างหรือวิธีการเชื่อมโยงแบบไหนที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน
Forms
การใช้งาน Forms เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าหรือ Lead ที่ใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ เป็นจุดที่เราจะได้ข้อมูลของลูกค้าเพิ่มเติมซึ่งโดยส่วนมากแล้วลูกค้าจะไม่ชอบฟอร์มที่มีความยุ่งยากจนเกินไป ดังนั้นการทดสอบ A/B Testing จะช่วยให้ทราบแนวโน้มว่าฟอร์มแบบไหนที่ลูกค้ายินดีที่จะตอบมากที่สุด
Call To Action
สำหรับปุ่ม Call To Action (CTA) ถือได้ว่าเป็นปุ่มที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำให้เกิด Conversion ขึ้น ซึ่งการวางตำแหน่งของปุ่ม CTA ที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้า ดังนั้นการทำ A/B Testing ที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่ม Conversion ให้สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Content Depth
สำหรับการใช้งานหน้าเว็บไซต์โดยทั่วไปแล้วนอกจากรูปแบบการวาง Layout แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและดึงดูดให้ผู้ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ของเราได้นานมากขึ้นคือเรื่องของ “เนื้อหาหรือคอนเทนต์” บนหน้าเว็บไซต์ ที่มีความดึงดูด น่าสนใจ และสามารถตอบปัญหาของลูกค้าได้ ซึ่งการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์และช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเกิด Conversion ได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการทำ A/B Testing คือวิธีจะช่วยปรับเปลี่ยนเนื้อหาในแต่ละจุดเพื่อมอบเนื้อหาที่มีคุณภาพและน่าดึงดูดให้แก่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไข Headlines สารบัญ หรือช่วง CTA ก็ตาม
ทั้งนี้การทดสอบ Element ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการทำการทดสอบ A/B Testing ยังมี Element อีกหลายจุดที่สามารถใช้ A/B Testing ในการทดสอบเพื่อวัดผลลัพธ์ได้
เครื่องมือวิเคราะห์ผลลัพธ์หลังทำ A/B Testing
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการทำ A/B Testing คือการทดสอบวัดผลที่มีประสิทธิภาพ เมื่อต้องการทดสอบ A/B Testing จะสามารถดูผลลัพธ์จากการทดสอบได้จากเครื่องมือวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
1. Google Optimize
Google Optimize คือเครื่องมือในการทำ A/B Testing ที่ฟรีและมีประสิทธิภาพโดยเราสามารถใช้งานร่วมกับ Google Analytic เพื่อการทดสอบสมมติฐานต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังมีวิธีการทดสอบ A/B Testing ให้เลือกหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การทดสอบหลายตัวแปร,การทดสอบหน้าเว็บไซต์หลายเวอร์ชัน, การทดสอบการเปลี่ยนทิศทาง หรือการทดสอบส่วนบุคคล
2. AB Tasty
AB Tasty เป็นเครื่องมือสำหรับการทำ A/B Testing โดยเฉพาะ ที่สามารถแก้ไขหน้าเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด (No-Code) และไม่ต้องใช้ความรู้ด้านเทคนิคใด ๆ ในการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ โดยสามารถเปรียบเทียบตัวแปรที่เรียบง่ายไปจนถึงตัวแปรที่มีความซับซ้อน กำหนดตัวแปรตามความต้องการเฉพาะของผู้เข้าชม และทดสอบหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
3. Google Analytics
การใช้งาน Google Analytics จะเป็นเครื่องมือในการดูผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บไซต์จากการทำ A/B Testing เพื่อการวิเคราะห์ผลทางด้าน Data Analytic ไม่ว่าจะเป็น ยอด View Page, ระยะเวลาของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์, ยอด Conversion หรือค่า CTR ของหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น
4. Google Search Console
การใช้งานของ Google Search Console จะมีความคล้ายคลึงกับ Google Analytics คือเป็นเครื่องมือที่ใช้ดูผลลัพธ์ของ Traffic ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ว่า Lead ที่เข้ามายังเว็บไซต์มาจากแหล่งไหนบ้าง หรืออาจใช้ร่วมกับแคมเปญ Social Media Marketing เพื่อวัดผล Lead ที่ถูกส่งมาจากช่องทางต่าง ๆ
A/B Testing ส่งผลดีต่อ SEO อย่างไร
การทำ A/B Testing อาจส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ที่มีการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพราะในระยะสั้น Google อาจมองว่ามีการเปลี่ยนแปลงของหน้าเว็บไซต์บ่อยครั้ง แต่หลังจากที่มีการปรับปรุงเว็บไซต์จากผลลัพธ์ของการทดสอบ A/B Testing เรียบร้อยแล้ว อาจส่งผลดีกว่าในระยะยาวเพราะเนื้อหาภายในเว็บไซต์จะเป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ Google มองว่าหน้าเว็บไซต์มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานและดันอันดับของเว็บไซต์ให้สูงมากยิ่งขึ้นได้
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ A/B Testing ในการทดสอบการทำ SEO ได้ เช่นการทดสอบใช้ Canonical Tag หรือการปรับเปลี่ยน Redirect 302 แทนการใช้ Redirect 301 เป็นต้น
ขั้นตอนการทำ A/B Testing
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการทำ A/B Testing คือ เทคนิคที่ทำให้เราสามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงของหน้าเว็บไซต์ได้ว่ามีประสิทธิภาพแตกต่างจากเดิมมากน้อยขนาดไหนส่งผลอย่างไรต่อสมมติฐานหรือ KPI ที่ได้ตั้งไว้บ้าง โดยขั้นตอนการทำ A/B Testing จะมีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายสำหรับทำการทดสอบ
กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร หรือ Element ไหน
2. ระบุปัญหาที่ต้องการทดสอบ
ระบุปัญหาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการทดสอบ A/B Testing ให้ชัดเจน ว่าการเปลี่ยนแปลงตัวแปรในแต่ละครั้งต้องการแก้ปัญหาในเรื่องใด
3. การตั้งสมมติฐานในการทดสอบ
สำหรับการทดสอบ A/B Testing แล้ว การตั้งสมมติฐานเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบมาเปรียบเทียบว่ามีความแตกต่างจากสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด เพื่อการปรับปรุงการทดสอบ A/B Testing อย่างมีประสิทธิภาพ
4. กำหนด KPI สำหรับการทดสอบในแต่ละครั้ง
การกำหนดตัวเลข KPI จะช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าผลลัพธ์จากการทำ A/B Testing สามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือมีความใกล้เคียงกับสมมติฐานที่ได้วางไว้มากน้อยเพียงใด
5. เริ่มต้นการทดสอบ
หลังจากที่ได้มีการกำหนดเป้าหมายและตั้งสมมติฐานต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการเริ่มต้นการทดสอบ A/B Testing ตามแผนที่ได้วางไว้
6. วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ A/B Testing
เมื่อผ่านการทดสอบ A/B Testing เรียบร้อยแล้ว จะเป็นขั้นตอนของการนำผลลัพธ์จากการทดสอบมาวิเคราะห์ หาแนวโน้ม และเปรียบเทียบกับสมมติฐานและ KPI ที่ได้ตั้งไว้ว่าการทดสอบในแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
7. ปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น
หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากการทดสอบ A/B Testing เรียบร้อยแล้ว จะทำให้เห็นผลของตัวแปรต่าง ๆ ว่าส่งผลต่อหน้าเว็บไซต์อย่างไรบ้าง และสามารถทำการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ตามผลลัพธ์ที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สรุปการใช้งาน A/B Testing กับธุรกิจออนไลน์
การใช้งาน A/B Testing คือวิธีที่จะให้ธุรกิจสามารถเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้า และสามารถปรับปรุงหน้าเว็บไซต์เพื่อประสบการณ์การที่ดีของผู้ใช้งานเว็บไซต์ นอกจากนี้หน้าเว็บไซต์ที่เป็นมิตรและให้ข้อมูลที่สามารถแก้ไขปัญหาของผู้ใช้งานได้จะช่วยเพิ่มโอกาสของการเกิด Conversion ที่มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย
ดังนั้นสำหรับใครที่มีความสนใจในการทำหน้าเว็บไซต์, Landing Page หรือ Sale Page เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับลูกค้าหรือปิดการขาย สามารถใช้บริการรับทำ Landing Page,รับทำ Sale Pageและรับทำเว็บไซต์ของทาง Markety ได้ โดยสามารถติดต่อได้ที่ Email : [email protected] หรือเบอร์โทรติดต่อ 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย), 061-924-7449 (ฝ่ายขาย)
คำถามที่พบบ่อย
1.แพลตฟอร์มไหนที่เหมาะจะทำ A/B Testing มากที่สุด
สำหรับการทำ A/B Testing ในปัจจุบันจะนิยมใช้กับเว็บไซต์เป็นหลัก เพราะเว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถให้ข้อมูลและรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน และยังสามารถทำแผนทางการตลาดได้อีกมากมาย
2.ควรใช้เวลาในการทำ A/B Testing นานเท่าไหร่
จากที่ทราบกันว่าการทำ A/B Testing คือการทดสอบวัดประสิทธิภาพของผลลัพธ์การเปลี่ยนของหน้าเว็บไซต์ ดังนั้นเรื่องระยะเวลาของการทดสอบจะขึ้นกับตัวแปรหรือ Element ในการทดสอบนั้น ๆ โดยระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบจะต้องประเมินประมาณ Traffic ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้งานหน้าเว็บไซต์ เพื่อการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการทดสอบที่มีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
Amy Gallo. (2017, June 28). A Refresher on A/B Testing.
https://hbr.org/2017/06/a-refresher-on-ab-testing
Lindsay Kolowich Cox. (2023, April 5). How to Do A/B Testing: 15 Steps for the Perfect Split Test.
https://blog.hubspot.com/marketing/how-to-do-a-b-testing
Semrush Team. (2023, August 17). What Is A/B Testing? A Comprehensive Beginners’ Guide.