Markety

Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

CTA คืออะไร กลยุทธ์การตลาด ปั้นคำให้สร้าง Conversion อย่างมีประสิทธิภาพ

CTA คือ

CTA คือ คำกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ สามารถออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม CTA หรือ แบนเนอร์ CTA ก็ได้เช่นเดียวกัน โดยการทำ CTA นั้น เจ้าของธุรกิจควรทำ CTA อย่างไร เพื่อสร้างความน่าสนใจ ให้คนคลิก หรือกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นดังใจหวัง เพราะฉะนั้นในบทความนี้ Markety จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับกลยุทย์การตลาดอย่างการทำ CTA ให้มากยิ่งขึ้น

สารบัญบทความ

CTA คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

CTA ใช้งาน

Call To Action หรือ CTA คือ กลยุทธ์การตลาดในการปั้นคำหรือประโยคที่กระตุ้นให้ผู้ใช้งานหรือผู้อ่านรู้สึกอยากกระทำการบางอย่างตามความต้องการของผู้ออกแบบ CTA เช่น สมัครสมาชิก สั่งซื้อสินค้า ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรืออ่านบทความเพิ่มเติม โดยการใช้สร้าง CTA มักจะปรากฏในรูปแบบของปุ่มหรือลิงก์ที่โดดเด่นบนเว็บไซต์ โฆษณา โดยที่ CTA นั้นนับว่าเป็น Social Media Marketing ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

องค์ประกอบของการทำ CTA คือ ปัจจัยต่อไปนี้

  • สร้างถ้อยคำหรือประโยค (Text หรือ Copywriting) บนปุ่มคลิกให้มีความน่าสนใจ โดยอาจจะใช้คำกริยาที่ชัดเจน เช่น โทร, ดาวน์โหลด, ซื้อ รวมไปถึงเพิ่มกำหนดเวลาอย่างชัดเจนเพื่อกระตุ้นให้รีบตัดสินใจ อย่างคำว่า เดี๋ยวนี้ หรือ ตอนนี้ เช่น “สมัครสมาชิกฟรี”, “ซื้อเลย”, “ดาวน์โหลดตอนนี้” เป็นต้น
  • Call To Action เป็นอีกรูปแบบของ Content marketing จึงต้องสร้างเนื้อหาที่ผู้ใช้งานอ่านแล้วรู้สึกว่าตัวเองจะได้คุณค่าอะไรบางอย่างจากการกดคลิกในครั้งนี้ เช่น “รับส่วนลด 10% เมื่อสมัครสมาชิก” “จัดส่งฟรีเมื่อสั่งซื้อครบ 500 บาท” เป็นต้น
  • การดีไซน์รูปลักษณ์ของปุ่ม CTA คืออีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องดึงดูด และสะดุดตาเพื่อให้เห็นได้ง่าย มีรูปทรงหรือสีสันชัดเจนชวนให้กด ทั้งนี้อาจจะศึกษาจากความชอบของผู้ใช้งาน หรือกลุ่มเป้าหมายก็ได้เช่นเดียวกัน 
  • Layout ของ CTA โดยเฉพาะเรื่องตำแหน่งของปุ่ม CTA ในเว็บไซต์ ควรอยู่ในระดับสายตา เพื่อให้ผู้ชมเห็นตั้งแต่แรก จนเกิดความสนใจอยากคลิกเข้าไป

CTA มีความสำคัญต่อแผนการตลาดที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์สำหรับปิดการขายเป็นหลัก แต่ถึงอย่างนั้นข้อดี ๆ อื่นที่ได้รับจากการใช้ CTA ก็มีอีกเยอะเช่นเดียวกัน

ข้อดีของการทำ CTA คืออะไร

ความสำคัญของ CTA คือ การใช้ถ้อยคำ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการตัดสินใจ เข้าร่วมกิจกรรมบางอย่างตามที่ธุรกิจต้องการ ทั้งกลุ่มลูกค้าเดิม กลุ่มลูกค้าใหม่ รวมถึงกลุ่ม Lead โดยข้อดีของการทำ CTA คืออะไรบ้างที่น่าสนใจ มาดูไปพร้อม ๆ กัน

  • เพิ่มโอกาสในการปิดการขาย โดยปุ่ม CTA ช่วยให้ผู้ชมหรือผู้อ่านดำเนินการตามที่ต้องการ ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดการขาย เช่น สมัครสมาชิก สั่งซื้อสินค้า หรือจองบริการ เป็นต้น
  • สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะ CTA ช่วยให้ผู้ชมหรือผู้อ่านมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น เช่น สมัครรับข่าวสาร ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือติดตามโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
  • เพิ่มยอดการเข้าชมเว็บไซต์ โดยปุ่ม CTA ช่วยให้ผู้ชมหรือผู้อ่านคลิกไปยังหน้าเว็บไซต์หรือส่วนที่ต้องการ เช่น หน้าสินค้า หน้าบริการ หรือหน้าติดต่อ เป็นต้น

ปั้นคำทำ CTA อย่างไร ให้สร้างแรงจูงใจในการคลิก

มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าการทำ CTA คือการคิดคำ ปั้นคำง่าย ๆ ไม่กี่ประโยคแล้วจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเสมอไป แต่จริง ๆ แล้วการทำ CTA ไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยาก ขอเพียงรู้เทคนิคและคิดวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายมาอย่างดี ได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน

1. สั้น กระชับ โดนใจ

คติของ CTA คือ สั้น กระชับ โดนใจ เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจและจดจำได้ง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะหรือคำและวลีที่ซับซ้อนที่อาจทำให้ผู้อ่านเสียสมาธิ CTA ควรระบุสิ่งที่ผู้ชมต้องดำเนินการอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจง เช่น “สมัครสมาชิกฟรี” “ซื้อเลย” “ดาวน์โหลดตอนนี้” เป็นต้น

2. หลักการ FOMO 

หลักการ FOMO (Fear of missing out) คือ ความรู้สึกกลัวที่จะพลาดบางสิ่งบางอย่าง หลักการนี้ สามารถใช้เป็นแรงจูงใจในการกระตุ้นให้ผู้ชมคลิก CTA ได้ เช่น การเพิ่มคำว่า “ด่วน”, “จำกัดเวลา”, “เหลืออีกไม่กี่วันเท่านั้น” เป็นต้น ถือว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ควรมี

3. เลือกตำแหน่งการวางให้เหมาะสม และสะดุดตา

ตำแหน่งการวางปุ่ม CTA ก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรวางปุ่ม CTA ให้อยู่ในตำแหน่งที่สะดุดตาและมองเห็นได้ง่าย เช่น ด้านบนสุดของหน้าเว็บ เพื่อให้ผู้ชมเห็นเป็นสิ่งแรก, ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ เพื่อให้ผู้ชมเห็นก่อนออกจากหน้าเว็บ หรือด้านข้างของเนื้อหา เพื่อให้ผู้ชมเห็นได้ง่ายขณะอ่านเนื้อหา เป็นต้น

4. ออกแบบ CTA ให้โดดเด่น 

การออกแบบปุ่ม CTA ให้โดดเด่นจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มากขึ้น ควรใช้สีสัน, ขนาด หรือรูปแบบอักษรที่โดดเด่น เพื่อให้ปุ่ม CTA แตกต่างจากเนื้อหาอื่น ๆ ในหน้าเว็บหรือโฆษณา เช่น ใช้สีสันที่ตัดกับสีพื้นหลัง, ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่และหนา หรือใช้รูปภาพหรือไอคอนประกอบ

5. เลี่ยงคำยาก ลดความสับสน

อีกเทคนิคของ CTA คือ ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นภาษาที่ตรงไปตรงมาและกระชับ เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจสิ่งที่ต้องดำเนินการได้ทันที เช่น แทนที่คำว่า “สมัครสมาชิก” ด้วย “ลงทะเบียน”, เปลี่ยนจาก “สั่งซื้อ” เป็น “ซื้อ” หรือ “ดาวน์โหลด” เป็น “โหลด”

6. ติดตามผลลัพธ์และปรับปรุงแก้ไข

แนวทางสุดท้าย เพื่อให้การใช้ Call To Action ประสบความสำเร็จ คือ การหมั่นติดตามผลลัพธ์ว่า CTA มีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยใช้ Marketing Automation ช่วยประเมินผล เช่น อัตราการคลิก (Click-through rate: CTR) อัตราการแปลง (Conversion rate) เป็นต้น หาก CTA มีประสิทธิภาพดีก็ควรใช้ต่อไป หาก CTA ประสิทธิภาพไม่ดีควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น หาก CTR ต่ำ อาจลองเปลี่ยนข้อความ CTA ให้สั้นและกระชับขึ้น หรือ หากอัตราการแปลงต่ำ อาจลองเพิ่มแรงจูงใจ เช่น เสนอส่วนลดหรือโปรโมชั่นพิเศษ

CTA เหมาะสำหรับแพลตฟอร์มไหนบ้าง

CTA คือเครื่องมือการตลาดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม เช่น เว็บไซต์ โฆษณา โซเชียลมีเดีย อีเมล หรือสื่ออื่น ๆ ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์ม ปุ่ม CTA ก็อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทและพฤติกรรมของผู้ชมหรือผู้อ่านบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ

  • เว็บไซต์ : CTA บนเว็บไซต์มักปรากฏในรูปแบบของปุ่ม CTA หรือลิงก์ที่โดดเด่น เช่น “สมัครสมาชิกฟรี” “ซื้อเลย” “ดาวน์โหลดตอนนี้” เป็นต้น ซึ่งอาจจะอยู่ที่หน้าแรกของเว็บไซต์
  • โฆษณา : สามารถซื้อโฆษณาบน Google ได้อีกช่องทางหนึ่ง เมื่อผู้ชมกำลังค้นหาสินค้าหรือบริการของธุรกิจ ซึ่งอาจจะเพิ่มรายละเอียดการติดต่อในปุ่ม CTA เพื่อช่วยให้ผู้ชมสั่งซื้อได้ง่ายขึ้น
  • โซเชียลมีเดีย : CTA บนโซเชียลมีเดียมักปรากฏในรูปแบบของคำเชิญชวนให้คลิกลิงก์ เช่น “อ่านเพิ่มเติม” “ดูวิดีโอ” “ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน” เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละสื่อว่ามีลักษณะ CTA แบบใด เช่น Facebook จะใช้ปุ่ม “เรียนรู้เพิ่มเติม” เป็นต้น
  • แคมเปญอีเมล : CTA ในอีเมลมักปรากฏในรูปแบบของปุ่ม CTA ที่ส่งไปพร้อมข้อมูลของสินค้าหรือบริการ เพื่อส่งให้ลูกค้าเป็นรายบุคคล

จะเห็นได้ว่า รูปแบบ Call To Action มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ Wireframe แต่ละแพลตฟอร์ม โดย Wireframe คือ โครงร่างหรือแบบร่างของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เป็นโครงสร้าง องค์ประกอบ รายละเอียดต่าง ๆ และความต่อเนื่องบนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เช่น ข้อความ รูปภาพ ปุ่มต่าง ๆ ว่าแต่ละส่วนประกอบนั้นควรจัดวางไว้ตรงไหน

ดังนั้น หากต้องการให้ปุ่ม CTA มีความโดดเด่น ผู้ชมเกิดความสนใจอยากคลิก จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของแต่ละแพลตฟอร์มให้ดี เพื่อให้สามารถออกแบบ CTA ได้ตรงกับเงื่อนไขและมีความสอดคล้องกับภาพรวมของแพลตฟอร์ม

ตัวอย่างการทำ CTA ยอดนิยม

ปุ่ม CTA
  • CTA ในแหล่งชุมชน Community เช่น กดติดตาม ลงทะเบียน สมัคร เป็นต้น
  • CTA เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น เรียนรู้เพิ่มเติม ติดต่อเรา ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
  • CTA สำหรับเชิญชวน เช่น ลงทะเบียนฟรี ทดลองใช้ฟรี เป็นต้น
  • CTA กระตุ้นการตัดสินใจ เช่น ซื้อเลย, สมัครสมาชิกฟรี, รับส่วนลด 50% เป็นต้น นิยมมีคำว่า ด่วน, ฟรี และ ง่าย
  • CTA ใช้รูปภาพหรือไอคอนประกอบ เช่น รูปภาพสินค้า ไอคอนมือ เป็นต้น


ทั้งนี้ การทำปุ่ม CTA จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยอาจจะศึกษาจาก Customer Journey ร่วมด้วย เพื่อศึกษาความต้องการ ความสนใจ หรือพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ เพื่อให้สามารถออกแบบปุ่ม CTA ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น จะช่วยเพิ่มยอดการเข้าชมให้สูงขึ้น

สรุปการเกี่ยวกับ CTA

CTA คือ คำกระตุ้นการตัดสินใจขั้นสุดท้าย เพื่อให้ผู้ชมตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมตามกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจ โดยมีลักษณะเป็นปุ่ม CTA ปรากฏตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ เน้นให้มีสีสัน ขนาด หรือรูปแบบอักษรที่โดดเด่น บางครั้งอาจจะเลือกใช้รูปภาพหรือไอคอนแทน เพื่อช่วยกระตุ้น เพิ่มยอดขายให้แก่ธุรกิจ เพิ่มความน่าสนใจให้ผู้ชมคลิกเข้าชมสินค้าหรือบริการ หรือข้อมูลอื่น ๆ ภายในเว็บไซต์


ทั้งนี้ การตลาดแบบ CTA จำเป็นต้องได้รับการวางแผนและออกแบบอย่างเหมาะสม ทั้งบริบทของธุรกิจและความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงหน้าเว็บไซต์ที่เหมาะสำหรับการทำ CTA เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่กำลังมองหาเว็บไซต์สำหรับทำธุรกิจ Marketyบริษัทรับทำ Landing Pageรับทำ Sale Pageและ รับทำเว็บไซต์ อย่าง Markety ในการทำปุ่ม CTA โดยเฉพาะ หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ Email : [email protected] หรือเบอร์โทรติดต่อ 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย) หรือ 061-924-7449 (ฝ่ายขาย)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำ CTA

1. ควรทำ CTA ไว้จุดใดของเว็บไซต์

ตำแหน่งที่เหมาะสมในการทำปุ่ม CTA บนเว็บไซต์นั้น ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางธุรกิจของแบรนด์และความต้องการของผู้ชมหรือผู้อ่านบนเว็บไซต์นั้น ๆ โดยนิยมวางตำแหน่งของ CTA คือ 

  • ด้านบนสุดของหน้าเว็บ เพื่อให้ผู้ชมเห็นเป็นสิ่งแรก ซึ่งอาจใช้ปุ่ม CTA ประเภท “สมัครสมาชิกฟรี” “รับส่วนลด 50%” เป็นต้น
  • ด้านล่างสุดของหน้าเว็บ เพื่อให้ผู้ชมเห็นก่อนออกจากหน้าเว็บ ซึ่งอาจใช้ปุ่ม CTA ประเภท “อ่านเพิ่มเติม” “ดูวิดีโอ” เป็นต้น
  • ด้านข้างของเนื้อหา เพื่อให้ผู้ชมเห็นได้ง่ายขณะอ่านเนื้อหา ซึ่งอาจใช้ปุ่ม CTA ประเภท “สั่งซื้อเลย” “ติดต่อเรา” เป็นต้น

นอกจากตำแหน่งทั่วไปเหล่านี้แล้ว แบรนด์ยังสามารถวางปุ่ม CTA ไว้ที่จุดอื่น ๆ บนเว็บไซต์ได้เช่นกัน เช่น

  • หน้า Landing Page ซึ่งเป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ดังนั้น ปุ่ม CTA บนหน้า Landing Page ควรเน้นการกระตุ้นให้ผู้ชมสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ เช่น “ซื้อเลย” “สมัครสมาชิกฟรี” เป็นต้น
  • หน้าผลิตภัณฑ์หรือบริการ ควรมีปุ่ม CTA ประเภท “สั่งซื้อเลย” “เพิ่มลงในตะกร้า” เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมดำเนินการซื้อ
  • หน้าติดต่อเราควรมีปุ่ม CTA ประเภท “ติดต่อเรา” “ส่งข้อความ” เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมติดต่อแบรนด์

2. เครื่องมือสำหรับวัดผลการทำ CTA

หากต้องการทำปุ่ม CTA สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ การวัดผลการทำ CTA ซึ่งนิยมใช้ Google Analytics โดยเป็นเครื่องมือวัดผลทางการตลาด ช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลการทำ CTA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Google Analytics สามารถวัดผลการทำ CTA ได้ เช่น อัตราการคลิก (Click-through rate: CTR), อัตราการแปลง (Conversion rate), จำนวนผู้คลิก (Unique visitors), จำนวนครั้งที่คลิก (Pageviews) เป็นต้น

นอกจากนี้ อาจจะใช้ A/B testing ร่วมด้วย โดย A/B testing คือ วิธีการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ 2 เวอร์ชันที่แตกต่างกันขององค์ประกอบใดๆ บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เช่น หน้า Landing Page โฆษณา หรืออีเมล โดยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าเวอร์ชันใดมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน

อ้างอิง 

Will Kenton. (2022, December 27). What a Call to Action (CTA) Is and How It Works. https://www.investopedia.com/terms/c/call-action-cta.asp

Mark Quadros. (2022, October 21). 17 Call To Action Examples (+ How to Write the Perfect Social CTA). https://adespresso.com/blog/call-to-action-examples/

Barbara von der Osten. (2023, April 18). What is a Call-to-Action? Examples and Reasons to Use Them in Marketing Strategies. https://rockcontent.com/blog/call-to-action/

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update