Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

IP address คืออะไร วิธีตรวจสอบเลข IP ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ทำได้แบบนี้!

IP address คือ

การที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น ส่วนหนึ่งเกิดจากองค์ประกอบสำคัญอย่าง IP Address คือ หมายเลขประจำตัวของอุปกรณ์บนสัญญาณเครือข่าย ช่วยระบุตำแหน่งของอุปกรณ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้ โดยบทความนี้ Markety จะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ IP Address กันให้มากยิ่งขึ้น ไขทุกข้อสงสัยที่ว่า IP Address คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท แล้วสามารถเช็ก IP Addressได้อย่างไร ในเนื้อหาต่อไปนี้

สารบัญบทความ

IP Address คืออะไร

ip address

Internet Protocol Address หรือ IP Address คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP สามารถบอกได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ที่ไหน โดยที่ IP ของอุปกรณ์จะไม่มีทางซ้ำกันคล้ายกับเลขที่บ้าน เพราะหากเกิดการใช้เลข IP Address ซ้ำอาจจะทำให้การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสับสนได้ว่าต้องส่งข้อมูลไปที่ไหน ซึ่ง IP Address จะประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด โดยในปัจจุบันมาตรฐานของ IP Address คือ IPv4 และ IPv6 โดย IPv4 จะเป็นเลข 32 บิต และ IPv6 เป็นเลข 128 บิต

โดยหน้าที่ของ IP Address คือ 

  • ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ในเครือข่าย โดยอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะมี IP Address ที่ไม่ซ้ำกัน ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายจะมี IP Address ที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันได้ถูกต้อง
  • ระบุตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ในเครือข่าย โดยแบ่งออกเป็นคลาสต่าง ๆ ตามขนาดของเครือข่าย เช่น Class A เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ Class B เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดกลาง และ Class C เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก

และตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ถึง 2 รูปแบบความแตกต่างของ IP Address ที่จะมีความแตกต่างกันไป ดังนี้

  • IPv4 เป็นมาตรฐาน IP Address ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน มีลักษณะเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดมีตัวเลข 0-255 ตัวอย่างเช่น 192.168.1.1
  • IPv6 เป็นมาตรฐาน IP Address รุ่นใหม่ มีลักษณะเป็นเลขฐานสิบหก 8 ชุด แต่ละชุดมีตัวเลข 0-9 หรือ a-f ตัวอย่างเช่น 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า IP Address คือ องค์ประกอบสำคัญในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยที่ IP Address ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดของ IP Address คือ 

  • Network Address เป็นหมายเลข IP สำหรับเครือข่าย จะถูกติดตั้งด้วย Router 
  • Computer Address เป็นหมายเลข IP ประจำเครื่องในระบบเครือข่าย


ทั้งนี้ ขออธิบายเกี่ยวกับ Network Address ที่มีการระบุตัวเลข IP ผ่านสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคืออะไร โดยอินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยมีภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ทำให้ผู้คนสามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ช่องทาง เช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูล และข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

ทำความรู้จักกับประเภทของ IP Address

ไม่เพียงเฉพาะรูปแบบ และองค์ประกอบที่แตกต่างกันของ IP Address เท่านั้น แต่ประเภทของ IP Address ยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจำแนก ทั้งนี้ IP Address ที่ใช้กันเป็นหลัก จะมี 2 ประเภทดังนี้

Public IP

Public IP Address คือ IP Address ที่สามารถใช้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะเป็นผู้กำหนด Public IP Address ให้กับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น IP Address ของเว็บไซต์หรือเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ โดยPublic IP Address มีลักษณะเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดมีตัวเลข 0-255 ซึ่งออกเป็น 2 แบบย่อย ได้แก่

  • Static IP เป็น IP Address ซึ่งได้รับการกำหนดมาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต นิยมใช้อย่างแพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธุรกิจต่าง ๆ
  • Dynamic IP เป็น IP Address ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามการใช้งานผ่านการเชื่อมต่อในอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้ง 

Private IP

Private IP Address คือ IP Address ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง โดยจะใช้ภายในเครือข่ายส่วนตัว เช่น เครือข่ายภายในบ้านหรือสำนักงาน โดย Private IP Address มีลักษณะเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดมีตัวเลข 0-255 โดย ISP จะกำหนดให้ใช้ช่วง IP Address ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น 192.168.0.0-192.168.255.255

ความแตกต่างของ IP4 และ IP6 คืออะไร

แม้จะทราบกันไปแล้วว่า IP Address นั้น ปัจจุบันมี 2 มาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วโลก เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานของ IP Address มากยิ่งขึ้น เรามาดูความหมาย และการทำงานเชิงลึกของ IPv4 และ IPv6 กันให้มากยิ่งขึ้น ดังนี้ 

  1. IPv4 ย่อมาจาก Internet Protocol Version 4 โดย IP Address ประเภทนี้คือมาตรฐานของที่อยู่ IP (Internet Protocol address) ที่ใช้กันตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน มีลักษณะเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดมีตัวเลข 0-255 ตัวอย่างเช่น 192.168.1.1 โดย IPv4 แบ่งออกเป็น 5 คลาส ได้แก่
    • Class A : เริ่มต้นด้วย 0 และช่วงตั้งแต่ 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 โดยทั่วไปแล้ว จะใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น รัฐบาลและมหาวิทยาลัย
    • Class B : เริ่มต้นด้วย 10 และช่วงตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 โดยทั่วไปแล้ว จะใช้กับองค์กรขนาดกลาง เช่น ธุรกิจและโรงเรียน
    • Class C : เริ่มต้นด้วย 110 และช่วงตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 โดยทั่วไปแล้ว จะใช้กับองค์กรขนาดเล็กและบุคคล
    • Class D : เริ่มต้นด้วย 1110 และช่วงตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 สงวนไว้สำหรับวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น มัลติคาสต์และการกำหนดเส้นทาง
    • Class E : เริ่มต้นด้วย 1111 และช่วงตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 เดิมสงวนไว้สำหรับการใช้งานในอนาคต แต่ยังไม่ได้กำหนดอย่างเป็นทางการสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ

  2. IPv6 ย่อมาจาก Internet Protocol Version 6 เป็นมาตรฐานของที่อยู่ IP (Internet Protocol Address) รุ่นใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อทดแทน IPv4 เนื่องจาก IPv4 มีจำนวนที่อยู่ IP ไม่เพียงพอต่อการใช้งานในปัจจุบัน โดย IPv6 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
    • Global Unicast Addresses : เป็นประเภทหลักสำหรับการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์บนอินเทอร์เน็ต สามารถกำหนดเส้นทางได้ทั่วโลก เช่น 2001:db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334
    •  Link-Local Addresses : ใช้เฉพาะภายในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ใช้ค้นหาอุปกรณ์ภายใน ไม่สามารถกำหนดเส้นทางออกนอกเครือข่ายได้ เช่น fe80::202:aabb:ccdd:eeff
    • Unique Local Addresses : ใช้ภายในกลุ่มเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) เพื่อระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ภายใน ไม่สามารถกำหนดเส้นทางออกนอกกลุ่มเครือข่ายได้ เช่น fc00::0802:1bff:fe28:0000
    • Multicast Addresses : ใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังกลุ่มอุปกรณ์พร้อมกัน เช่น ff02::1
    • Anycast Addresses : ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใกล้ที่สุดในกลุ่ม มักใช้กับบริการที่มีเซิร์ฟเวอร์กระจายอยู่หลายแห่ง นิยมใช้กับ DNS Server
    • Loopback Addresses : ใช้สำหรับการสื่อสารกับตัวเองภายในอุปกรณ์ เช่น ::1
    • Unspecified Addresses: ไม่ได้ระบุตำแหน่งอุปกรณ์ใด ๆ มักใช้เป็นค่าเริ่มต้นก่อนกำหนดค่าที่อยู่จริง เช่น 0:0:0:0:0:0:0:0

โดยสามารถสรุปความแตกต่างระหว่าง IPv4 และ IPv6 ได้ดังนี้

  1. ขนาดของ IPv4 : 32 บิต แต่ IPv6 : 128 บิต
  2. จำนวนที่อยู่
    • IPv4 : 2^32 = 4,294,967,296
    • IPv6 : 2^128 = 340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456
  3. รูปแบบของ
    • IPv4 : 4 ชุดตัวเลขฐานสิบ 0-255
    • IPv6 : 8 ชุดตัวเลขฐานสิบหก 0-9 หรือ a-f
  4. การแบ่งคลาส
    • IPv4 : มี 5 คลาส A, B, C, D, E
    • IPv6 : ไม่มีคลาส แต่แบ่งออกเป็นหลายประเภท
  5. การรองรับ NAT
    • IPv4 : จำเป็นต้องใช้ NAT เพื่อเพิ่มจำนวนที่อยู่ IP
    • IPv6 : ไม่จำเป็นต้องใช้ NAT
  6. ความปลอดภัยของ IP Address คือ IPv6 มีความปลอดภัยสูงกว่า IPv4
  7. ประสิทธิภาพของ IP Address คือ IPv6 มีประสิทธิภาพสูงกว่า IPv4
  8. การใช้งาน
    • IPv4: ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
    • IPv6: กำลังได้รับการพัฒนาและใช้งานอย่างจำกัด

วิธีการตรวจสอบ IP Address ด้วยตัวเอง

หากต้องการตรวจสอบว่า IP Address คือหมายเลขใด สามารถเช็ก IP Address หรือมีวิธีดู IP Address ด้วยตนเองได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้

  • ใช้ Command Prompt พิมพ์คำสั่ง “ipconfig” แล้วกด Enter
  • ใช้ Control Panel เลือก Network and Sharing Center -> คลิกที่ Change adapter settings -> คลิกขวาที่การเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต้องการตรวจสอบ IP Address แล้วเลือก Properties -> เลือกแท็บ General แล้วดูที่ช่อง IPv4 Address

ใช้เว็บไซต์ตรวจสอบ IP Address ผ่านการเข้า Browser ต่าง ๆ

สรุปการเกี่ยวกับ IP Address

IP Address คือ องค์ประกอบสำคัญในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้ ในปัจจุบันมี IP Address อยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ IPv4 และ IPv6 โดย IPv6 มีจำนวนที่อยู่ IP มากกว่า IPv4 ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานในปัจจุบันและอนาคต 

Markety บริษัทรับทำเว็บไซต์ และวางแผนการตลาดครบวงจร พร้อมให้บริการรับทำ Landing Pageรับทำ Sale Pageหรือรับทำเว็บไซต์ หากสนใจสามารถติดต่อผ่านเบอร์โทรติดต่อ 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย), 061-924-7449 (ฝ่ายขาย) หรือ Email : [email protected]

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำ IP Address

1. DNS กับ IP Address เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

DNS (Domain Name System) และ IP Address ต่างก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนกัน แต่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน 

  • DNS ย่อมาจาก Domain Name System เป็นระบบทำหน้าที่แปลง IP Address เป็นชื่อโดเมน เช่น [www.google.com](https://www.google.com) เป็นที่อยู่ IP เช่น 172.217.14.194
  • IP Address ย่อมาจาก Internet Protocol Address เป็นที่อยู่เฉพาะของอุปกรณ์แต่ละเครื่องในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุด แต่ละชุดมีตัวเลข 0-255 ตัวอย่างเช่น 172.217.14.194

2. NAT คืออะไร

NAT ย่อมาจาก Network Address Translation เป็นเทคนิคที่ใช้ในการแปลงที่อยู่ IP ของอุปกรณ์ภายในเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) ให้กลายเป็นที่อยู่ IP สาธารณะ (Public IP Address) เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้

อ้างอิง 

Cory Mitchell. (2023, September 29). IP Address Definition: How It Works and Examples. https://www.investopedia.com/terms/i/ip-address.asp

Dan Rafter. (2022, July 25). What is an IP address? A definition + how to find it. https://us.norton.com/blog/privacy/what-is-an-ip-address

Andy Patrizio. (2019, December 12). What is an IP address?. https://www.avast.com/c-what-is-an-ip-address

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update