Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

ไขข้อข้องใจ Back-end คืออะไร ตอบทุกข้อสงสัยในงานจัดการระบบเว็บไซต์หลังบ้าน

Back-end คือ

นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ พัฒนาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงพัฒนาแอปพลิเคชัน อาชีพยอดฮิตของเด็กยุคใหม่หลาย ๆ คนที่มีความฝันอยากทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดการระบบเว็บไซต์ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ Front-end Back-end และ Full Stack โดยแต่ละตำแหน่งที่กล่าวมานี้มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นในบทความนี้ Markety จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับงาน Back-end Developer โดยจะเน้นไปที่ “งานหลังบ้าน” เป็นหลัก Back-end คืออะไร? มาไขข้อข้องใจกับอีกหนึ่งสายงานยอดนิยมของเหล่าโปรแกรมเมอร์ไปพร้อม ๆ กัน

สารบัญบทความ

Back-end คืออะไร

back-end development

Back-end คือ ระบบจัดการเว็บไซต์ในส่วนของเนื้อหาและโครงสร้างเว็บไซต์ทั้งหมด ที่โดยทั่วไปเรียกกันว่า “หลังบ้าน” ซึ่งมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับระบบ Database ระบบฐานข้อมูลที่ใช้เก็บและจัดระเบียบข้อมูล และ Server ส่วนควบคุมการเข้าถึงของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการส่งคำขอ (Request) การตอบกลับ (Response) รวมถึงการประมวลผล และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ เพื่อแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์

ผู้ที่ควบคุมและบริหารจัดการเว็บไซต์ในส่วน Back-end คือ “Back-end Developer” มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ เช่น เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล จัดการข้อมูลผู้ใช้ ตลอดจนสร้างฟังก์ชันการทำงาน โดยใช้เครื่องมือ และเขียน Script Code สำหรับควบคุมการประมวลผลต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องมือสำคัญที่นักพัฒนาระบบ Back-end Developer ต้องรู้จัก

PHP

หนึ่งในเครื่องมือสำคัญ และเป็นพื้นฐานมาก ๆ สำหรับงานด้าน Back-end คือ “PHP” ภาษาที่สามารถประมวลผลตามคำสั่ง และแสดงผลลัพธ์ได้ตามที่ต้องการ แต่เดิมเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานในการสร้างเอกสาร HTML ดังนั้นจะใช้งานภาษานี้ได้คุณต้องมีความรู้ด้านภาษา HTML เป็นพื้นฐานด้วยเช่นกัน 

Ruby

เครื่องมือยอดนิยมถัดมาสำหรับการพัฒนา Back-end คือ “Ruby” ภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูงและใช้งานง่าย เนื่องจากมี Syntax ที่เข้าใจง่าย มีลักษณะการแปลแบบ Interpreter คล้ายกับ Python ทำให้สามารถใช้เพื่อเขียนโปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นภาษาแบบไดนามิกส์ ที่ไม่จำเป็นต้องกำหนดประเภทของข้อมูล สามารถปรับแต่งโครงสร้างเองได้ และยังใช้งานได้กับหลาย ๆ ระบบปฏิบัติการด้วย

Python

อีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ Back-end Developer ต้องรู้สำหรับการพัฒนาส่วน Back-end คือ “Python” ภาษาโปรแกรมระดับสูงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถใช้เขียนโปรแกรมได้หลายประเภท เพราะมีโครงสร้างและ Syntax ที่อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน และเป็นหนึ่งในภาษากลุ่ม Interpreter ที่ทำงานแปลงชุดคำสั่งทีละบรรทัด เพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยประมวลผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ 

C#

“C#” อีกหนึ่งภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Microsoft ภายใต้ .NET Framework เพื่อเชื่อมต่อเว็บไซต์กับผู้ใช้งานบนระบบปฏิบัติการที่ต่างกัน นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับพัฒนา Back-end ที่นักพัฒนาระบบควรทำความรู้จัก โดยภาษา C# ได้รับการออกแบบมาให้สามารถใช้ในวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย จึงเป็นภาษาที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการเขียน เพราะมีฟังก์ชัน และรูปแบบการเขียนที่ตายตัว

JavaScript

ภาษาเขียนโปรแกรมที่สำคัญอย่าง “JavaScript” เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และใครหลาย ๆ คนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากช่วยให้ผู้พัฒนาระบบสามารถสร้างเว็บเพจได้ตามที่ต้องการ ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการโต้ตอบของเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ในส่วน Back-end นั้น มักมีการใช้ภาษา JavaScript ร่วมกับ Libraries ที่มีชื่อว่า Node.js ซึ่งจะช่วยให้โปรแกรมที่เขียนสามารถนำไปใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการ 

Database tools

อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า Back-end คือ ระบบจัดการเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยส่วนหลักอย่าง Database และ Server ที่ต้องมีการเก็บและดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้ ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับ “Database tools” จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ Back-end Developer จะขาดไปไม่ได้ ตัวอย่างเครื่องมือจัดการฐานข้อมูล เช่น MySQL, SQL Server, MSSQL, phpMyAdmin, Oracle และ PostgreSQL 

Server Management

การมีความรู้ในด้าน “Server Management” เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะหน้าที่หลักของ Developer ในงาน Back-end คือ การต้องอยู่กับเซิร์ฟเวอร์เป็นประจำ ดังนั้นการมีความรู้เกี่ยวกับ Web Server และเครื่องมือในการจัดการเซิร์ฟเวอร์ เช่น Apache, Nginx, Microsoft IIS, และ lighttpd ก็จะช่วยให้ Developer สามารถเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมกับงาน Back-end ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

API

เครื่องมือสุดท้ายที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ส่วน Back-end คือ “API” หรือ Application Program Interface วิธีเรียกใช้บริการ หรือข้อมูลจากระบบต่าง ๆ โดย API จะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างเว็บไซต์ที่แตกต่างกัน ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอีก ดังนั้นนักพัฒนา Back-end ที่ต้องควบคุมการรับส่งข้อมูลเป็นประจำควรเข้าใจหลักการทำงาน และวิธีการของ API ด้วย 

นอกจากภาษาคอมพิวเตอร์ประเภท Script Code เหล่านี้ การทำงานเกี่ยวกับระบบหลังบ้านอย่าง Back-end ยังสามารถใช้สำหรับดูแลเว็บไซต์ประเภท CMS (Content Management System) โดยในปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม CMS สำหรับงาน Back-end ที่ได้รับความนิยมอยู่มากมาย เช่น WordPress, WIX, Joomla, Magento ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ต่างก็มี Template กับ Plugin ให้เลือกใช้อย่างหลากหลายเลยทีเดียว

Soft Skill สำคัญ ที่คนอยากเป็น Back-end Developer ต้องมี

สำหรับใครที่อยากเป็น Back-end Developer นอกจากจะเข้าใจว่า Back-end คืออะไร และได้รู้จักเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์ส่วน Back-end แล้ว Soft Skill ต่าง ๆ ต่อไปนี้ ก็เป็นสิ่งที่คนเป็น Developer จำเป็นต้องมีด้วยเช่นกัน

  • Product Design

การมีทักษะด้าน Product Design ไม่ว่าจะเป็น การเข้าใจโจทย์ที่ได้รับ เข้าใจผู้ใช้งาน เข้าใจความต้องการตลาด ตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์ จะช่วยให้ Developer เข้าใจความต้องการเชิงลึกของผู้ใช้ เกิดไอเดียใหม่ ๆ ที่จะนำมาใช้สร้างเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ตรงใจผู้ใช้งานมากที่สุด

  • Communication

อีกทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในส่วน Back-end คือ ทักษะด้าน Communication หาก Back-end Developer สามารถอธิบายเรื่องยาก ๆ ด้าน Technical ให้คนในทีม ผู้ใช้งาน หรือลูกค้าเข้าใจได้ ก็จะช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างถูกต้อง เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ส่งผลให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น 

  • Crisis Management

การพัฒนาระบบส่วน Back-end คือ การดูแลระบบการทำงานภายในเว็บไซต์ ทั้งส่วน Database และ Server หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับทั้งสองส่วนนี้ เช่น เกิดความขัดข้องกับระบบฐานข้อมูล เซิร์ฟเวอร์มีปัญหาทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถใช้งานได้ ก็อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร หรือสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ใช้ ดังนั้น Developer ต้องมีทักษะด้าน Crisis management เพื่อจัดการและรับมือกับปัญหาดังกล่าวด้วย

Back-end แตกต่างจาก Front-end และ Full Stack Developer อย่างไร?

back-end ต้องรู้

เนื่องจากเว็บไซต์มีการทำงานที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย ทั้ง “ระบบหน้าบ้าน” อย่าง Front-end คือ ส่วนที่ผู้ใช้มองเห็นได้ และ “ระบบหลังบ้าน” อย่าง Back-end ส่วนโครงสร้างเว็บไซต์และฐานข้อมูล ซึ่งทั้งสองส่วนนี้เชื่อมต่อกัน และต้องพัฒนาอยู่บนระบบเครือข่ายตลอดเวลา ดังนั้นคนเป็น Developer จะต้องมีความเชี่ยวชาญในการควบคุมดูแลเว็บไซต์ด้วย 

Developer แต่ละคนอาจมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบเว็บไซต์จึงขึ้นอยู่กับความถนัดของ Developer ดังนี้ 

  • Front-end Developer คือ นักพัฒนาระบบหน้าบ้าน รับผิดชอบดูแลในส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นได้ ดังนั้นจึงควรมีความรู้ในด้าน CSS ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ และความเข้าใจในเรื่อง UX UI ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ใช้งานเว็บไซต์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้ด้วย
  • Back-end Developer คือ นักพัฒนาระบบหลังบ้าน มีหน้าที่รับผิดชอบงานเบื้องหลังเว็บไซต์อย่างฐานข้อมูล โครงสร้างเว็บไซต์ และเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น 
  • Full Stack Developer คือ นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทั้งในส่วนหน้าบ้าน และหลังบ้านอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งส่วนของ Front-end และ Back-end ด้วย 

แม้จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนที่ต่างกัน แต่ Front-end, Back-end, และ Full Stack Developer ก็ยังต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั่นเอง

สรุปเกี่ยวกับการทำ Back-end 

Back-end คือ ระบบบริหารจัดการเนื้อหาและโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ ทั้งด้านฐานข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ นับเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ดังนั้นใครก็ตามที่จะเป็น Back-end Developer ที่คอยควบคุมดูแลส่วน Back-end นี้ จึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการเขียนโค้ด และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เป็นอย่างดี

การออกแบบและพัฒนาระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็จะสามารถทำได้ในเร็ววัน เพราะฉะนั้นหากคุณกำลังมองหานักพัฒนาเว็บไซต์ทั้งสำหรับธุรกิจทั่วไป และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เราขอแนะนำ Markety ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ บริษัทรับสร้างเว็บไซต์ที่มีทีมนักพัฒนาทั้งระบบหน้าบ้าน และหลังบ้านผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ทุกรูปแบบ พร้อมให้บริการรับทำเว็บไซต์, บริการรับทำ Landing Page, และบริการรับทำ Sale Page ครบจบในที่เดียว

ผู้ที่สนใจบริการออกแบบเว็บไซต์จาก Markety สามารถติดต่อสอบถาม และรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย), 061-924-7449 (ฝ่ายขาย)หรือทางอีเมล [email protected]

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำ Back-end 

1. Back-end Developer เงินเดือนเท่าไหร่

รายได้ของตำแหน่ง Back-end Developer จะขึ้นอยู่กับองค์กร อุตสาหกรรม และประสบการณ์ของ Developer โดยผู้ที่มีอายุงาน 3-7 ปี รายได้จะอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 120,000 บาทต่อเดือน ส่วนผู้ที่มีอายุงานมากกว่า 7 ปีขึ้นไป รายได้อาจสูงถึง 250,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

2. Back-end รับผิดชอบงานและหน้าที่ในส่วนใด

หน้าที่และความรับผิดชอบของ Back-end Developer คือ การสร้างและควบคุมดูแลการทำงานของเว็บไซต์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบฐานข้อมูล, การจัดการข้อมูลผู้ใช้, การสร้าง API เพื่อแลกเปลี่ยน และเชื่อมโยงกับข้อมูลระหว่างเว็บไซต์ ตลอดจนการสร้างฟังก์ชันการทำงาน การประมวลผลต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เว็บไซต์ด้วย

อ้างอิง 

Chinmayee Deshpande. (2023, July 24). What is Backend Development? Skills, Salary, Roles & More. Simplilearn Solutions. https://www.simplilearn.com/tutorials/programming-tutorial/what-is-backend-development

Coursera Staff. (2023, November 30). What Does a Back-End Developer Do?. Coursera. https://www.coursera.org/articles/back-end-developer


Laura Fitzgibbons. (2019, May). front end and back end. TechTarget. https://www.techtarget.com/whatis/definition/front-end#:~:text=The%20back%20end%20is%20also,part%20of%20a%20user%20interface

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update