Markety

ศูนย์การเรียนรู้

บริษัท มาเก็ตตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

Google Search Console คืออะไร เครื่องมือตรวจสอบเว็บไซต์ฟรีจาก Google

Google Search Console คือ

มาร่วมทำความรู้จักกับหนึ่งในเครื่องมือคู่ใจที่เหล่านักพัฒนาเว็บไซต์ และบริษัทรับทำ SEO ใช้กันมาอย่างยาวนานกับ Google Search Console หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกันในชื่อย่ออย่าง GSC เครื่องมือสำหรับวัดผลเว็บไซต์ที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ หนึ่งในเครื่องมือการตลาดดิจิทัลที่เปิดให้ใช้งานฟรีจาก Google สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ ไปจนถึงการทำ SEO ขอแค่รู้ว่า Google Search Console คืออะไร ติดตั้งและใช้งานอะไรได้บ้าง รับประกันนำไปต่อยอดได้แน่นอน

สารบัญบทความ

Google Search Console คืออะไร

Google Search Console คือ เครื่องมือจาก Google ที่เปิดให้บริการติดตั้ง และใช้งานเพื่อตรวจสอบเว็บไซต์ได้ฟรี สามารถดูได้ตั้งแต่ Organic Traffic ไปจนถึงปัญหาที่เกิดขี้นบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และพัฒนาให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google SERPs ที่ดียิ่งขึ้น

สายการตลาดอย่าง SEO คือกลุ่มที่นิยมใช้ Google Search Console กันมากที่สุด เพราะจำเป็นที่จะต้องคอยดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์อยู่ตลอดเวลา และเหมือนกันกับเครื่องมือการตลาดอื่น ๆ ของ Google เพียงแค่คุณมีบัญชี Google ทุกคนก็สามารถเข้าใช้งาน Google Search Console ได้ทันที

วิธีการติดตั้ง Google Search Console 

สำหรับการใช้งานเครื่องมือ Google Search Console นั้น ขอเพียงแค่คุณมีบัญชีของ Google ขั้นต่อการติดตั้งนั้นไม่ใช่เรื่องยาก สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

ติดตั้ง Google Search Console

1. เปิดหน้า Google Search Console

เลือกบัญชี Google ที่คุณต้องการใช้เป็นบัญชีหลักในการทำงาน และเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของ Google Search Console จากนั้นคุณจะพบกับหน้าต่างยินดีต้อนรับ ที่จะให้คุณเลือกประเภทของพรอพเพอร์ตี้ผ่านโดเมนหรือเว็บไซต์

  • โดเมน (Domain) หากคุณเลือกติดตั้งผ่านโดเมน Google Search Console จะทำการจัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ทั้งโดเมน 
  • URL Prefix เหมาะสำหรับใครที่ต้องการเก็บข้อมูลเฉพาะแค่ Sub Domain เท่านั้น 

2. ยืนยันตัวตนและติดตั้ง

หลังจากการเลือกประเภทของพรอพเพอร์ตี้เสร็จสิ้น ขั้นตอนต่อไปในการติดตั้ง Google Search Console คือการยืนยันตัวตน (Verify) และการติดตั้ง (Install) โดยสำหรับการติดตั้ง Google Search Console นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

สำหรับเว็บไซต์ที่เลือกพรอพเพอร์ตี้ในรูปแบบโดเมน คุณจำเป็นที่จะต้องติดต่อโฮสต์เว็บไซต์เพื่อเพิ่ม DNS record เพื่อ Verify ในการใช้เครื่องมือ Google Search Console

สำหรับเว็บไซต์ที่เลือกพรอพเพอร์ตี้ในรูปแบบ URL Prefix สามารถติดตั้ง Google Search Console ได้หลากหลายวิธี เช่น การติดตั้งด้วย HTML ไฟล์ การติดตั้งด้วย CMS การติดตั้งด้วย Google Tag Manager และการติดตั้งด้วย Google Analytics

Tips : วิธียอดนิยมสำหรับการติดตั้ง Google Search Console คือ การติดตั้งด้วย HTML และ CMS อย่างการใช้ปลั๊กอิน Yoast SEO ที่มีฟีเจอร์ Webmaster Tools ที่จะช่วยให้คุณติดตั้ง Google Search Console ได้แบบง่าย

Google Search Console ฟีเจอร์พื้นฐานที่ควรรู้จัก

เหตุผลที่ Google Search Console คือเครื่องมือคู่ใจของเหล่านักพัฒนาเว็บไซต์นั้น นอกจากจะเป็นเครื่องมือฟรีที่ติดตั้งง่ายแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่มีฟีเจอร์สำหรับการดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์ที่ค่อนข้างครบ ถึงขั้นที่ว่าหากเป็นเว็บไซต์เล็ก ๆ ก็สามารถจบได้ด้วยเครื่องมืออย่าง Google Search Console ตัวเดียวเท่านั้น สำหรับฟีเจอร์พื้นฐานที่ว่านั้นจะมีอะไรกันบ้าง มาดูกัน

Google Search Console ทำอะไรได้บ้าง

1.ตรวจสอบภาพรวมของเว็บไซต์ (Performance Dashboard)

เริ่มกันที่ฟีเจอร์ที่เบสิคที่สุดแต่สำคัญที่สุดของ Google Search Console คือหน้าต่างสำหรับตรวจสอบภาพรวมของเว็บไซต์อย่าง Performance Dashboard คุณสามารถดูปริมาณผู้ใช้งานที่เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ได้ย้อนหลังสูงสุดถึง 16 เดือน และค่าที่คุณเห็นจาก Performance Dashboard ยังเป็นค่า Organic Traffic อีกด้วย 

การใช้งาน Performance Dashboard นั้น สามารถดู Traffic ได้หลากหลาย Metric ไม่ว่าจะเป็นค่า Click, Impression, CTR และ Position เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในแผนการตลาด SEO ขั้นต่อไป

2.การทำดัชนี (Index)

อีกหนี่งฟีเจอร์สำคัญของ Google Search Console คือหน้าการจัดดัชนี (Index Page) เป็นหน้าเว็บไซต์ที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบได้ว่าจากหน้าเว็บเพจทั้งหมดบนเว็บไซต์ มีหน้าใดบ้างที่ถูกจัดเก็บดัชนีไปแล้ว และหน้าไหนที่ Google ยังไม่ทำการ Index 

คุณสามารถตรวจสอบเหตุผลได้ว่าทำไม Google ถึงไม่ทำการจัดเก็บ Index ของเว็บเพจบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อนำเหตุผลดังกล่าวไปปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ในลำดับต่อไป โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยจากการที่ Google ไม่จัดอันดับนั้น มีดังนี้ Submitted URL not found (404), Redirect error, Server errors (5xx), Redirect error หรือ Submitted URL marked ‘noindex’ เป็นต้น

3.ตรวจสอบเฉพาะหน้าเพจ (URL Inspect)

สำหรับใครที่อยากตรวจสอบเว็บเพจแบบรายหน้า ฟีเจอร์ URL Inspect จาก Google Search Console คือฟีเจอร์ที่คุณจะพลาดไม่ได้ เพราะฟีเจอร์ URL Inspect นี้ ใช้สำหรับตรวจสอบการทำดัชนี (Index) คล้ายกันกับฟีเจอร์ Index แต่จะแตกต่างกันตรงที่ URL Inspect นั้นจะเป็นการตรวจสอบแบบรายหน้า สามารถดูได้ว่า Google bot เข้ามา Crawl เว็บไซต์ของคุณล่าสุดเมื่อไหร่ รวมไปถึงหน้าเว็บไซต์นั้นมีปัญหาในด้านใดบ้างแบบเฉพาะหน้า

4.Core Web Vitals

เพราะเว็บไซต์ที่มีคุณภาพในปัจจุบัน ต้องใช้งานได้ดีจากทั้งบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน ทำให้ฟีเจอร์ Core Web Vitals กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของ Google Search Console

คุณสามารถตรวจสอบคุณภาพการใช้งานของเว็บไซต์ได้แบบละเอียดผ่าน Core Web Vitals โดยมาตรฐานที่ Google ให้ความสำคัญเพื่อจัดอันดับเว็บไซต์ที่มีคุณภาพนั้น หลัก ๆ จะมี 3 หัวข้อ ดังนี้

  • LCP : Largest Contentful Paint คือ คะแนนความเร็วในการเปิดหน้าเว็บไซต์ วัดจากคอนเทนต์หรือเนื้อหาที่ใหญ่ที่สุดในหน้าเพจ เช่น แบนเนอร์, วิดีโอ หรือรูปภาพ เป็นต้น
  • FID : First Input Delay คือ คะแนนของระยะเวลาหน่วงในการแสดงข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ 
  • CLS : Cumulative Layout Shift คือ คะแนนความเสถียรในการแสดงข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์

โดย Core Web Vitals นั้นจะแยกประเภทชัดเจนเพื่อให้คุณวิเคราะห์ได้จากการเปิดใช้งานเว็บไซต์บนคอมพิวเตอร์และบนสมาร์ตโฟน

5.Sitemap

การส่งผังเว็บไซต์กับ Google Search Console หรือการทำ Sitemap คือการแจ้งให้ Google ทราบว่าเว็บไซต์ของเรามี url อะไรบ้าง เพื่อให้ Google bot เข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ และทำให้ Google bot สามารถเข้ามา Crawl ข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายและเร็วมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของ Google Search Console

สำหรับ Google Search Console ประโยชน์ในการใช้งานนั้นจัดว่าเป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมเรื่องการตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพเว็บไซต์อย่างแท้จริง เพื่อให้เข้าใจข้อดีที่เป็นจุดเด่นและเป็นจุดแข็งของ Google Search Console แล้ว สามารถแบ่งออกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

  • Google Search Console คือเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายตลอดเวลา
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับ Organic Traffic เป็นหลัก เช่น บริษัทรับทำ SEO
  • ใช้สำหรับตรวจสอบ Query จาก Organic Keyword ที่ผู้ใช้งานเสิร์ชเข้ามายังหน้าเว็บไซต์
  • ช่วยให้ Google ทราบการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเว็บไซต์ของคุณ ในกรณีที่คุณมีการ Redirect 301 และ Redirect 302 
  • มีระบบแจ้งเตือนเมื่อหน้่เว็บไซต์เกิดปัญหา 404 not found หรือมีความผิดปกติในรูปแบบต่าง ๆ 

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงเป็นส่วนหนึ่งของข้อดีจากการใช้งาน Google Search Console เพียงเท่านั้น เพราะการใช้งานเครื่องมือ Google Search Console ยังมีข้อดีอีกมากมายที่รอให้คุณไปสัมผัสด้วยตัวเอง

สรุปเกี่ยวกับเครื่องมือ Google Search Console 

Google Search Console คือเครื่องมือเป็นดั่ง Starter Pack ในสายงาน SEO หรือผู้ที่มีความสนใจในการพัฒนาเว็บไซต์ รวมไปถึงกลุ่ม Digital Marketing รูปแบบต่าง ๆ ที่หากมีความรู้ในการใช้งาน Google Search Console ก็นับว่ามีแต้มต่อในการเข้าถึง Data สำคัญบนแพลตฟอร์มอย่างเว็บไซต์ด้วยเช่นเดียวกัน 

เพราะฉะนั้นอย่ารอช้า! หากคุณอ่านบทความนี้จนจบ เราคิดว่าคุณน่าจะทราบดีแล้วเกี่ยวกับพื้นฐานของ Google Search Console อย่างวิธีใช้ วิธีติดตั้ง ฟีเจอร์พื้นฐาน และข้อดี ถึงเวลาลองใช้งานด้วยตัวเองแล้ว การพัฒนาเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกจะไม่ใช้เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยเครื่องมือพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้งานฟรีจาก Google อย่าง Google Search Console ตัวนี้

ก่อนจะเริ่มใช้งาน Google Search Console สำหรับใครที่สนใจจะทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มเว็บไซต์แต่ยังไม่มีหน้าเว็บดี ๆ ไว้ใช้งาน เราขอแนะนำบริการรับทำเว็บไซต์รับทำ Landing Page และรับทำ Sale Page จาก Markety บริษัทรับทำเว็บไซต์มืออาชีพ ที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับทุกธุรกิจ ตอบโจทย์เว็บไซต์สไตล์คนรุ่นใหม่ หากสนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Email : [email protected] หรือเบอร์โทรติดต่อ 02-002-9322 (ฝ่ายบริการลูกค้า), 084-509-5545 (ฝ่ายขาย), 061-924-7449 (ฝ่ายขาย)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้งาน Google Search Console

1. เว็บไซต์แบบไหนบ้างที่เหมาะจะใช้ Google Search Console

Google Search Console คือเครื่องมือที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ทุกประเภท ตั้งแต่เว็บไซต์ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงอีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ขนาดใหญ่ก็สามารถใช้ Google Search Console เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้มีอันดับที่ดีบน Search Engine ได้ด้วยเช่นกัน

2. Google Search Console มีฟีเจอร์ Keyword Research หรือไม่

ปัจจุบัน Google Search Console ยังไม่มีฟีเจอร์ Keyword Research ให้ใช้งาน แต่คุณสามารถตรวจสอบ Search Query ที่เข้ามายังเว็บไซต์ได้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งานเข้ามาจากคีย์เวิร์ดคำกลุ่มไหน และสามารถนำไปต่อยอดในการทำ Keyword Research ได้ด้วยเช่นกัน 

3. พัฒนา PageSpeed ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย Google Search Console อย่างไร

แม้จะไม่ใช่การเพิ่ม PageSpeed โดยตรง แต่การใช้งาน Google Search Console เพื่อพัฒนา Core Web Vitals และจัดการปัญหาตามที่ Google แจ้งมาได้ครบนั้น มีส่วนช่วยในการพัฒนา PageSpeed ของเว็บไซต์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

อ้างอิง 

Aja. (2023, December 07). The Ultimate Guide to Google Search Console in 2023https://blog.hubspot.com/marketing/google-search-console

P. Tusha (2023, Mar 01). Google Search Console 2024https://www.semrush.com/blog/google-search-console/

เลือกหัวข้อที่คุณสนใจ

News Update