เว็บไซต์ พื้นที่อรรถประโยชน์บนโลกดิจิทัลที่เปิดโอกาสให้คุณเข้าถึง และใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง แพลตฟอร์มที่เป็นได้ทั้งคอมมูนิตี้ พื้นที่แบ่งปันความรู้ บอร์ดประชาสัมพันธ์องค์กร และพื้นที่ค้าขาย ยิ่งรู้จักวิธีการใช้งานเว็บไซต์ได้มากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น ใครที่กำลังสนใจทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเว็บไซต์ และอยากเข้าใจวิธีการใช้งานให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น บทความนี้มีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์มาแชร์ให้กับคุณ
ความหมายของเว็บไซต์ คืออะไร
เว็บไซต์ (Website) คือ พื้นที่นำเสนอข้อมูลผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตบนหน้าเว็บเพจ (Web Page) จำนวนหลาย ๆ หน้าที่ถูกจัดเก็บข้อมูลรวมกันไว้ในเวิลด์ ไวด์ เว็บ (Word Wide Web :WWW) และถูกเปิดใช้งานผ่าน Web Browser
ดั้งเดิมเว็บไซต์ถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐานอย่าง HTML แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมาหลากหลายภาษา เพื่อให้การสร้างเว็บไซต์ทำได้อย่างอิสระ และง่ายต่อการเพิ่มลูกเล่นของเว็บไซต์ให้มากยิ่งขึ้น
Web Browser (เว็บเบราว์เซอร์) คืออะไร ประตูสู่หน้าเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต
เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) คือ โปรแกรมสำหรับใช้งานเพื่อเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ผ่าน IP Address หรือ Domain Name ที่จะทำการเรียกข้อมูลประเภทข้อความ ภาพ และมัลติมีเดียต่าง ๆ ของเว็บไซต์มาแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
โดยในปัจจุบัน Web Browser ที่ได้รับความนิยมนั้น มีดังนี้
- Google Chrome
- Mozilla Firefox
- Apple Safari
- Microsoft Edge
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน Web Browser ยังนิยมใช้เพื่อเข้าถึง Search Engine หลาย ๆ ประเภท ซึ่งเป็นเครื่องค้นหาข้อมูลยอดนิยมที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบันอีกด้วย
เครื่องมือยอดนิยมสำหรับใช้สร้างเว็บไซต์มีอะไรบ้าง
ในปัจจุบันนั้น เครื่องมือสำหรับการสร้างเว็บไซต์ มีให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย โดยเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ยอดนิยมที่ใช้กันทั่วโลกนั้น มีหลัก ๆ 2 ประเภทดังนี้
เครื่องมือสร้างเว็บไซต์ด้วยการเขียนโค้ด
การเขียนโค้ด (Coding) เป็นทักษะการสร้างเว็บไซต์ดั้งเดิม รูปแบบเว็บไซต์จากการเขียนโค้ดนั้นสามารถออกแบบได้อย่างอิสระ และมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้เขียนโค้ดด้วยเช่นกัน ยิ่งชำนาญมาก เว็บไซต์ยิ่งมีคุณภาพมากตามไปด้วย โดยภาษาโค้ด หรือภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้สร้างเว็บไซต์ และรู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น จะมีหลัก ๆ 3 ภาษา อย่าง HMTL, CSS และ JavaScript เป็นต้น
เครื่องมือสร้างเว็บไซต์โดยไม่ต้องเขียนโค้ด
สำหรับผู้ที่ไม่มีทักษะการเขียนโค้ด ก็สามารถสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้ด้วยเช่นกันผ่านเครื่องมือสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป โดยจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ตามเทมเพลตที่มี มีอิสระในการปรับแต่งน้อย ใช้งานง่าย แต่ใช้ประโยชน์ยาก ทำให้คนส่วนมากนิยมใช้งานระบบที่ใกล้เคียงกันอย่าง CMS
CMS คือ แม้จะเป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์อย่างการเขียนโค้ด HTML, PHP หรืออื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม CMS นั้น เข้าใจง่าย และถูกเขียนโปรแกรมจำลองขึ้นมาให้สามารถออกแบบเว็บไซต์ได้ตามเทมเพลต ปรับแต่งได้อิสระมากกว่าเว็บไซต์สำเร็จรูปทั่วไป ที่สำคัญใช้งานง่าย และใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอีกด้วย โดยเครื่องมือ CMS ที่รู้จักกันทั่วไปอย่าง WordPress ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ที่นิยมใช้กันทั่วโลกอีกด้วย
ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาเว็บไซต์มีอะไรบ้าง
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นสำหรับหัวข้อการสร้างเว็บไซต์ด้วยการเขียนโค้ด (Coding) หากต้องการเขียนโค้ดเพื่อสร้างเว็บไซต์นั้น ก่อนอื่นต้องเริ่มต้นรู้จักภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างเว็บไซต์พื้นฐานกันเสียก่อน โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เพื่อสร้างเว็บไซต์นั้น มีดังนี้
HTML คืออะไร
HTML (Hypertext Markup Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ดั้งเดิม หนึ่งในรากฐานของภาษาคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย เป็นพื้นฐานที่ควรต้องเรียนรู้สำหรับการสร้างเว็บไซต์ ที่ใช้งานได้ครบวงจรทั้งสำหรับการจัดหน้าเว็บเพจ ออกแบบสีสัน และการใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นบนหน้าเว็บไซต์
CSS คืออะไร
CSS (Cascading Style Sheet) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานร่วมกับ HTML โดย CSS นั้น จะถูกใช้งานเพื่อควบคุมการแสดงผลขององค์ประกอบบนหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นสีข้อความ สีพื้นหลัง ฟอนต์ รวมไปถึงองค์ประกอบด้านงานศิลป์ต่าง ๆ
JavaScript คืออะไร
JavaScript คือ หนึ่งในภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาหลักของการสร้างเว็บไซต์ มีหน้าที่ในการพัฒนา และออกแบบฟังก์ชัน รวมไปถึงระบบ Interactive ต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อสร้างมิติ และไดนามิกบนให้ผู้ใช้งานรู้สึกเพลิดเพลินไปกับท่องเว็บไซต์ที่เป็นระบบ ระเบียบมากยิ่งขึ้น
เว็บไซต์ มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร
Static Website
Static Website หรือเว็บไซต์ตอบสนองทางเดียว เป็นประเภทของเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลโดยไม่มีอินเทอร์แอคทีฟใด ๆ มีข้อมูลที่ตายตัว และเนื้อหาไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ๆ ในนาน ๆ ครั้ง มักพบกับเว็บไซต์ประเภทประชาสัมพันธ์ข้อมูล ปัจจุบันพบได้ค่อนข้างน้อย ไม่เป็นที่นิยม
Dynamic Website
Dynamic Website หรือเว็บไซต์ที่มีการตอบสนอง เป็นประเภทของเว็บไซต์ที่นิยมสร้างกันทั่วไปในปัจจุบัน เนื้อหาบนเว็บไซต์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา มีการประมวล และตอบสนองการใช้งานผ่านฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นบนเว็บไซต์ พบได้ทั่วไป และพบได้บ่อยบนเว็บไซต์ทุกประเภท โดยเฉพาะเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
เรียงลำดับเรื่องราวบนหน้าเว็บไซต์ด้วย Site Structure
Site Structure (โครงสร้างเว็บไซต์) คือ หนึ่งในกลยุทธ์การออกแบบเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานมี Journey ที่ดี เข้าถึงเนื้อหาได้ครบตามความต้องการ และทำให้เนื้อหาบนเว็บไซต์เป็นระเบียบผ่านการออกแบบ Sitemap ที่เหมาะสม ดังนี้
1. Linear Structure
Linear Structure คือโครงสร้างเว็บไซต์ที่เข้าใจง่ายที่สุด ผ่านการนำเสนอเนื้อหาทีละหัวข้อ เรียงลำดับตามความสำคัญในลักษณะ 1 > 2 > 3 เป็นรูปแบบที่จะช่วยลดความซับซ้อนบนหน้าเว็บไซต์ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาน้อย ไปจนถึงปานกลาง
2. Hierarchical Structure
Hierarchical Structure คือรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์ยอดนิยมที่ใช้กันมากที่สุด เหมาะสำหรับใช้งานตั้งแต่เว็บไซต์ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่หลายร้อยหน้า โดยจะเรียงเนื้อหาบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Categories เป็นหมวดหมู่แบบเข้าใจง่าย เหมาะเป็นพิเศษสำหรับเว็บไซต์ E-Commerce
3. Web Linked Structure
Web Linked Structure คือโครงสร้างเว็บไซต์ที่จะเชื่อมทุกเพจในให้เข้าถึงกัน โดยไม่สำคัญว่าคุณจะเข้าใช้งานโดยเริ่มต้นจากหน้าเพจหน้าไหนบนเว็บไซต์ แต่โครงสร้างเว็บไซต์ประเภทนี้จะทำให้คุณเข้าถึงทุกหน้าเพจด้วย Internal Link เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็กไม่ถึง 10 หน้า และมีความซับซ้อนในการใช้งานมากกว่าโครงสร้างรูปแบบอื่น ๆ
4. Hybrid Structure
Hybrid Structure คือการผสมผสานกันของ Linear & Hierarchical Structure ที่จะจัดเก็บเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบด้วยรูปแบบ Categories ที่มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบเส้นตรง 1 > 2 > 3 ของบางหัวข้อ โครงสร้างเว็บไซต์รูปแบบนี้นั้นจะนิยมใช้ด้วยเหตุผลเฉพาะทางอย่างเช่น การเพิ่ม Traffic ของเว็บเพจหน้าบน ๆ เป็นต้น
โดเมน (Domain) คืออะไร
โดเมน (Domain) คือชื่อเฉพาะที่อยู่ด้านหลัง www. ทำหน้าที่เรียกข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ให้แสดงผลขึ้นมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์แทนการเรียกผ่าน IP Address ที่จำได้ยาก โดยข้อมูลเว็บไซต์ รวมไปถึงโดเมนนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ในพื้นที่ที่เรียกว่า โฮสติ้ง (Hosting) เมื่อมีการเรียกหน้าเว็บไซต์ผ่านโดเมนบนเบราว์เซอร์ ข้อมูลจะถูกดึงจากโฮสติ้งไปปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั่นเอง
URL ที่อยู่ของไฟล์เว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต
การจะเข้าถึงหน้าเว็บไซต์นั้น การมี Domain Name อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ปรากฎขึ้นมา เพราะคุณจำเป็นที่จะต้องมี URL เพื่อให้รายละเอียดในการนำทางไปยังหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ครบถ้วนด้วยเช่นกัน
โดย URL เปรียบเสมือนเครื่องมือนำทางที่จะพาคุณไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ โดยรายละเอียดของ URL มีส่วนที่คุณควรจะต้องทำความรู้จักกันคร่าว ๆ ดังนี้
- ส่วนที่หนึ่ง คือ Protocol ในที่นี้หมายถึงส่วนที่ขึ้นต้นด้วย HTTP หรือ HTTPS ซึ่งเป็นส่วนที่จะส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานกับเซิร์ฟเวอร์เพื่อเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ รวมไปถึงยังมีความสำคัญในการใช้รักษาความปลอดภัยเว็บไซต์จากผู้ไม่หวังดีอีกด้วย
- ส่วนที่สอง คือ Domain Name ชื่อเฉพาะสำหรับเข้าถึงเว็บไซต์ ใช้แทนที่การจดจำ IP Address
- ส่วนที่สาม คือ ตัวกำกับประเภทของเว็บไซต์ เช่น .com .co.th หรือ .org
องค์ประกอบทั้ง 3 ข้างต้น ประกอบกันได้หนึ่ง URL เมื่อมีครบ และเสิร์ชลงเบราว์เซอร์จะช่วยนำทางคุณไปสู่หน้าเว็บไซต์ที่ถูกต้อง
ประโยชน์ของการใช้งานเว็บไซต์มีอะไรบ้าง
เว็บไซต์ กลายเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างประโยชน์ให้กับหลากหลายธุรกิจ ผ่านเทคนิคการใช้งานเว็บไซต์เพื่อสนับสนุนการขาย ดังนี้
1.เพิ่มช่องทางสำหรับการขายสินค้า และบริการ
การขายสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ กลายเป็นในหนึ่งทางเลือกของการทำธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูง ไม่ว่าจะเป็นการขายในรูปแบบงานประจำ หรืองานอดิเรก โดยต้นทุนในการสร้างเว็บไซต์ E-Commerce สักเว็บนั้น ถูกกว่าการเช่าพื้นที่เพื่อเปิดหน้าร้านขายของอย่างแน่นอน
นอกจากนี้มูลค่าทางการตลาดของอุตสาหกรรมขายสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ทำให้เว็บไซต์กลายเป็นแพลตฟอร์มที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และทำกำไรให้เหล่าผู้ประกอบการกันได้มากโขเลยทีเดียว
2.เพิ่มช่องทางทำการตลาดแบรนด์
ไม่เพียงเฉพาะเป็นพื้นที่ขายของเพียงเท่านั้น แต่เว็บไซต์ยังถูกใช้งานเพื่อทำการตลาดแบรนด์หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะสำหรับสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ (Brand Awareness) เว็บไซต์กลายเป็นพื้นที่ขายของ และโฆษณาที่ผู้คนเข้ามาใช้งาน และพบเจอแบรนด์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3.เพิ่มช่องทางทำการตลาดสินค้า
ไม่เพียงเฉพาะทำการตลาดแบรนด์เท่านั้น แต่การตลาดสินค้าบนเว็บไซต์ก็สามารถทำได้หลากหลายเทคนิคด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Digital Marketing อย่าง SEO, SEM หรือ Advertorial ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีโอกาสเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ และพบเจอกับสินค้าคุณได้มากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายได้ง่ายตลอด 24 ชั่วโมง
4.เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
ความสำคัญของเว็บไซต์ที่มีต่อแบรนด์นั้น ไม่ใช่เฉพาะทำการตลาด หรือเป็นช่องทางการขายเพียงเท่านั้น แต่ในปัจจุบันการมีเว็บไซต์ ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า และบริการของแบรนด์อีกด้วย โดยพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันมักจะเสิร์ชเพื่อค้นหาเว็บไซต์ของแบรนด์เพื่อสำรวจข้อมูลคร่าว ๆ ของสินค้า
เพิ่มโอกาสในการสร้างกำไร ด้วยเว็บไซต์ที่เหมาะกับคุณ
การมีเว็บไซต์ที่ดี และเหมาะกับธุรกิจนั้น คือกุญแจสำคัญในการสร้างจุดขายให้กับแบรนด์ นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์บางรูปแบบ ยังเป็นเทคนิคสำคัญในการทำการตลาดที่ดีอีกด้วย สำหรับใครที่กำลังมีแผนจะทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต แต่ยังไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง Markety ยินดีให้บริการ
Markety เราคือผู้ให้บริการรับทำเว็บไซต์มืออาชีพรับทำ Sale Page และรับทำ Landing Page คุณภาพจากทีมงานมืออาชีพ พร้อมแนะนำเทคนิคการตลาดออนไลน์ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายให้กับคุณ สนใจบริการสร้างเว็บไซต์จาก Markety ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 573/104 รามคำแหง 39แขวง พลับพลา เขต วังทองหลางกรุงเทพมหานคร 10310 หรือ ติดต่อสอบถาม : 084-509-5545 และ 061-924-7449 Email : [email protected]
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์
1.WEB 3 คืออะไร
การพัฒนาของ Web 3.0 คือ การพัฒนาเครือข่ายเว็บไซต์ให้สามารถใช้งานได้อย่างโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมข้อมูล และเพิ่มความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์นวัตกรรมบนอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ ๆ อย่างเช่น Crypto, DeFi, Blogchain หรือ NFT เป็นต้น
2.Responsive Website คืออะไร ดีต่อการออกแบบเว็บไซต์อย่างไร
ในปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์นั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงเท่านั้น ทำให้การออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบ Responsive Design มีความสำคัญขึ้นอย่างมาก เพื่อรองรับขนาดหน้าจอที่หลากหลาย และเพิ่มคุณภาพเว็บไซต์ให้ดีต่อการทำ SEO มากยิ่งขึ้น
3.SSL คืออะไร และสำคัญกับเว็บไซต์อย่างไร
SSL คือ Protocol ที่เป็นส่วนแรกของ URL เว็บไซต์ เป็นการเข้ารหัสความปลอดภัยของเว็บไซต์ ที่จะทำให้การส่ง-รับข้อมูลสำคัญบนอินเทอร์เน็ตถูกเข้ารหัส ยากต่อการดักจับข้อมูลของผู้ไม่หวังดีที่ต้องการโจรกรรมข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ ในปัจจุบันเพื่อความปลอดภัยทุกเว็บไซต์ควรมีการทำ SSL เสมอ
อ้างอิง
Margaret Rouse. (2023, November 12). What does a website mean?. Techopedia. https://www.techopedia.com/definition/5411/website
Nitishkumarpatel191. (2023, November 12). What is a website?. Geeksforgeek. https://www.geeksforgeeks.org/what-is-a-website/
Tiffani Anderson. (2023, November 12). What is a website and How does it work?. Bluehost. https://www.bluehost.com/blog/how-websites-work/